หลักสูตร การลงโทษด้วยการออกหนังสือเตือนที่ถูกต้องและถูกกฎหมาย

รหัสหลักสูตร: 29539

จำนวนคนดู 2060 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
        การออกหนังสือเตือนปัญหาฝ่ายบุคคลต้องรู้และห้ามมองข้าม กรณีที่มีพนักงานขาดงานโดยไม่ได้บอกกล่าวท่านจะมีวิธีการทำอย่างไร การตักเตือนลงโทษหรือออกหนังสือเตือนก่อนจะเลิกจ้างนั้นมีกี่ขั้นตอนและอย่างไร อำนาจหน้าที่ใดในการลงโทษพนักงานกระทำความผิด เทคนิคการสอบสวนข้อเท็จจริง และสาระสำคัญของหนังสือเตือนที่สามารถนำมาบังคับใช้ทางกฎหมาย และถ้าลูกจ้างลาผิดระเบียบ นายจ้างไม่อนุมัติแต่ลูกจ้างยังคงหยุดงานนายจ้างจะดำเนินการอย่างไร

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา (ผู้มีสิทธิออกหนังสือตักเตือน) ได้ใช้แบบหนังสือตักเตือนฯ เป็นแบบอย่างเดียวกัน
  2. เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือนผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำความผิดเป็นกิจจะลักษณะไม่ใช่พร่ำบ่นด้วยวาจา เพราะจะทำให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ทราบแน่ชัดว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร ผู้บังคับบัญชาจึงจะเอาผิด
  3. เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผู้กระทำความผิดได้รู้สึกตัว และกลับตัวให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับสำหรับการเป็นพนักงานของบริษัทฯ หรือคำสั่งอันชอบด้วยระเบียบ หรือกฎหมาย
  4. เพื่อให้มีหลักฐานเป็นเอกสารแสดงว่าผู้บังคับบัญชาได้ตักเตือนผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องที่กระทำผิดไปแล้วอย่างไร

หัวข้ออบรมสัมมนา
เนื้อหาการอบรม
1.  หลักเกณฑ์ วิธีการ และสิทธิ ของการลาตามกฎหมายแรงงาน
     1.1  สิทธิลาป่วย
     1.2  สิทธิลากิจ
     1.3  สิทธิลาพักร้อน
     1.4  สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร
     1.5  สิทธิลาราชการทหาร
     1.6  สิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ ฯลฯ

2.  การตักเตือนและการออกหนังสือเตือนพนักงานที่กระทำความผิดในเบื้องต้น
     2.1  การตักเตือนพนักงานแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
     2.2  การตักเตือนพนักงานในเบื้องต้นและก่อนออกหนังสือเตือนพนักงานต้องทำอย่างไรบ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย
     2.3  แบบฟอร์มที่ใช้ในการออกหนังสือเตือน มีสาระสำคัญอะไรบ้าง
     2.4  ในกรณีที่ลูกจ้างยอมรับและเซ็นชื่อในหนังสือเตือน ฝ่ายบุคคลต้องทำอย่างไรต่อไป
     2.5  กรณีที่ลูกจ้างไม่ยอมเซ็นชื่อรับทราบข้อความใบเตือน นายจ้างต้องทำอย่างไร

3.  การรวบรวมพยานหลักฐานในการสอบสวนลงโทษทางวินัย จะต้องทราบขั้นตอนในการลงโทษและการรวบรวมหลักฐานใดบ้าง
     3.1  การจัดทำแบบฟอร์มบันทึกคำให้การพยาน
     3.2  รูปแบบของการสอบสวนสอดคล้องกับความผิดโทษทางวินัยมีอะไรบ้าง
     3.3  โทษทางวินัยที่มีการลงโทษพนักงานพื้นฐานมีอะไรบ้าง
     3.4  การตรวจสอบข้อมูลพยานบุคคลว่ามีอะไรบ้าง
     3.5  วิธีการบันทึกคำให้การพยานและการอ้างเอกสารหรือวัตถุพยานเข้าสู่สำนวนการสอบสวน
     3.6  ทำอย่างไรเมื่อพยานขอแก้ไขคำให้การกับศาล
     3.7  การอ่านบันทึกคำให้การพยานฟัง พยานต้องเซ็นรับทราบและถ้าหากพยานไม่เซ็นรับทราบจะมีวิธีการใดบ้าง
     3.8  การพักงานระหว่างสอบสวน ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบเมื่อใดและต้องมีการพักงานกี่วันนับจากวันทีสอบสวน 
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: กฎหมาย, การออกหนังสือเตือน, ผู้บังคับบัญชา, การรวบรวมพยานหลักฐาน, กฎหมายแรงงาน

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด