กฎหมายแรงงานสำหรับฝ่ายบุคคล
รหัสหลักสูตร: 56623
สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
ในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือเรื่องของพนักงาน หรือแรงงาน ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ต้องดูแลพนักงานเหล่านี้ตามสิทธิที่ควรจะได้รับตลอดการทำงาน โดยเป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนี้ก็คือเรื่องกฎหมายแรงงาน
กฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง องค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้างและองค์กรดังกล่าวปฏิบัติต่อกัน เพื่อให้การจ้างงาน และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสมตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อลดปัญหาต่างๆ
1. สาระสำคัญของกฎหมายแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องรู้เพื่อความถูกต้องในการปฏิบัติ กำหนดโดยข้อตกลงสัญญาจ้าง, ข้อตกลงสภาพการจ้างในการทำสัญญา
2. หน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารตามกฎหมายแรงงาน
3. วัน เวลาทำงานเวลาทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันลาอย่างไร
▪ การกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน และต่อสัปดาห์
▪ นายจ้างต้องจัดเวลาพักให้กับลูกจ้างหลังจากทำงานติดต่อกัน กี่ชั่วโมง
▪ การสลับวันทำงาน หากลูกจ้างยินยอมนายจ้างสามารถทำได้หรือไม่?
▪ การจัดวันหยุดประจำสัปดาห์จะต้องหยุดอย่างไร? จำนวนเท่าไหร่?
▪ หลักเกณฑ์การกำหนดวันหยุดตามประเพณี และจำนวนสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมาย
▪ วันลามีกี่ประเภท? อะไรบ้าง? และมีสิทธิอย่างไร?
4. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปี 2560 มีอะไรบ้างที่ปรับเปลี่ยน
5. การดำเนินการลงโทษทางวินัย จะต้องพิจารณาและมีขั้นตอน อย่างไร?
▪ ขั้นตอนในการลงโทษทางวินัยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
▪ การออกหนังสือเตือน จะต้องดำเนินการอย่างไร?
▪ หลักเกณฑ์การเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องดำเนินการอย่างไร?
6. กรณีลูกจ้างเกษียณอายุ
▪ หลักเกณฑ์ใหม่ กรณีเกษียณอายุจะต้องปฏิบัติอย่างไร?
▪ หลักเกณฑ์การเกษียณอายุจะต้องเขียนในระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่