ซื้อมาขายไปแบบ Global Business (ธุรกิจระดับโลก)
การตลาด/การขาย

จำนวนเข้าชม 4966 ครั้ง

ซื้อมาขายไปแบบ Global Business (ธุรกิจระดับโลก)

Sponsored
หลักสูตร : การคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะอย่างเป็นระบบเพื่อความสำเร็จในการทำงาน ( Analytical System for Logical Thinking to Successful Working ) อบรมในรูปแบบ Online ผ่าน Zoom

ที่มาของหลักสูตร   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนานั้น เริ่มต้นจากการพั...

ดูรายละเอียด
หลักสูตร เทคนิคการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Material Requirements Planning )

หลักการและเหตุผล     MRP (Material Requirements Planning) คือ แผนหร...

ดูรายละเอียด

ซื้อมาขายไปแบบ Global Business (ธุรกิจระดับโลก)

คุณอาจเป็นผู้ที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศ (International Trade)  อยู่แล้ว โดยการเป็นผู้ซื้อวัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมือ ให้กับหน่วยงานหรือองค์กรของคุณ

แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายออกไป คุณก็จะจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าเป็น Merchandising Business or Trading Business

แต่ Global business + Trading Business อาจเป็นของแปลกใหม่สำหรับคุณ เราอาจเรียกว่าเป็น การซื้อมาขายไป..แบบระดับโลก 

ในฐานะที่ปรึกษา โดยปกติผมก็จะให้คำแนะนำในเรื่องทั่วไป รวมถึงการสอนในห้องอบรม ก็จะไม่ลงลึกขนาดนี้ แต่ case นี้น่าสนใจ ก็เลยถือโอกาสเอามาเล่าให้ฟังกันครับ 

ผมได้รับโจทย์ ให้ช่วยแก้ปัญหา ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศของหน่วยงานหนึ่ง โจทย์คือ : 

>บริษัทแม่(ผู้ขาย) อยู่ที่ประเทศไทย ต้องการนำสินค้าไปส่งขายยังประเทศ A (ลูกค้า) โดยมีการซื้อสินค้ามาจากประเทศ B (ผู้ผลิต)

>ขณะเดียวกันก็มีสำนักงานขาย (บริษัทลูก) อยู่ที่ประเทศ C ซึ่งก็ค้าขายกับลูกค้าที่อยู่ในประเทศ A อยู่แล้ว

>คราวนี้มีความต้องการให้นำสินค้าจากประเทศ B นั้น มารวมกับสินค้าที่อยู่ในประเทศ C เพื่อส่งขายไปยังประเทศ B !!

>ทางบริษัทผู้ขายได้ปรึกษาไปยัง บริษัทฯ shipping (ผู้ให้บริการการจัดส่งต่างประเทศ) แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับความกระจ่าง และกลัวว่าจะมีปัญหาในการปฏิบัติ เพราะถ้าเกิดปัญหาจะไปกระทบกับลูกค้าได้ ! 

ผมได้รับทราบและได้วิเคราะห์ ในกรณีนี้  จะเห็นว่ามันมีความยุ่งยาก และซับซ่อนในการจัดการ เรื่อง :


1. เอกสารที่เราเรียกว่า Shipping Document หรือเอกสารเพื่อการส่งออก จะออกอย่างไร !

2. เรื่องค่าใช้จ่าย ที่จะเกิดขึ้นการรวมการส่ง (Combine shipping) / ภาษีขาเข้า ! / ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

จริงๆแล้ว เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรครับ ซึ่งประเทศสิงคโปร์เขาทำกันมานานแล้ว ในฐานะเป็นประเทศที่ทำธุรกิจซื้อมาขายไป ในระดับโลก 

โดยการขายของประเทศสิงคโปร์นั้น เขาจะเป็นผู้ขาย (ออกเอกสารเรียกเก็บเงิน Invoice) แต่สินค้าจะออกจากประเทศผู้ผลิต แล้วส่งตรงไปยังประเทศลูกค้าได้เลย 

แต่ในการเอกสารเพื่อการส่งออก (Shipping Document) จะไม่การสำแดงรายละเอียดในชื่อผู้ผลิต ซึ่งก็จะทำให้ลูกค้าไม่รู้ว่า ใครเป็นผู้ผลิต !!

นี้ก็เป็นเทคนิคที่หอการค้าโลกจัดทำขึ้น และสิงคโปร์ก็ได้ใช้ประโยชน์จากรูปแบบนี้ ในการทำมาหากินมานานแล้ว !

วิธีนี้ในปัจจุบัน เราก็สามารถพบเจอได้ ในรุปแบบของ E-commerce บาง platform เช่น Alibaba ที่เราเรียกว่า Drop shipment ! ปัจจุบันก็ถือว่า เป็นช่่องทางในการทำธุรกิจแบบหนึ่ง

สำหรับโจทย์ที่ให้มานี้ แก้ไม่ยาก ก็แนะนำไปดังนี้ :

>ผู้ขาย จะต้องรู้ถึงความต้องการของตัวเอง และของลูกค้าก่อน

>แนะนำให้ติดต่อกับ shipping ที่มีศักยภาพ เพื่อหาข้อมูลเพื่อดำเนินการ โดยเลือก shipping ที่มีสายเรือเป็นของตัวเอง มีสำนักงานอยู่ในประเทศ A & C

>หลังจากนั้น เอามาดูแนวปฏิบัติที่เป็นไปได้  มาพิจารณาว่า ใครได้ประโยชน์ และได้ประโยชน์อย่างไร แต่ละฝ่ายจะยอมรับได้ไหม เพื่อจะได้เอาไปทำข้อตกลงกัน ก่อนที่จะดำเนินการจริง 

หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ

อนันต์ วชิราวุฒิชัย

เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »

วิทยากรด้าน การตลาด/การขาย ดูวิทยากรทั้งหมด »