เจาะลึก ประเด็นภาษีด้านบุคลากรและสวัสดิการพนักงาน

รหัสหลักสูตร: 35158

จำนวนคนดู 1352 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักการและเหตุผล

           การบริหารค่าจ้างและสวัสดิการ เป็นวิธีการหนึ่งที่สถานประกอบการต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือลำดับต้นๆ ในการจูงใจ และตอบแทนพนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด ให้ปฏิบัติงาน เป็นกำลังสำคัญ และอยู่กับองค์กรได้นานๆ ดังนั้นการบริหารจัดการด้านภาษีอากร เรื่องบุคลากร สวัสดิการ เป็นเรื่องจำเป็น ที่องค์กรจะมองข้ามเสียมิได้ ซึ่งการที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกต้องด้านภาษีฯ จะทำให้องค์กร สามารถกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง แผนงาน งบประมาณ และวางแผนค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน รวมทั้งการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็น Good Governance ได้เป็นอย่างดี


วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.      เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการของกฎหมาย และแนวปฏิบัติต่างๆ ด้านภาษีบุคลากร และสวัสดิการพนักงาน

2.      เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ เข้าใจและรับทราบกฎหมายใหม่ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

3.      เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถคำนวณและยื่นรายการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง

 

ผู้เข้าสัมมนา เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายบุคคล และผู้สนใจทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านบัญชี


ภาพรวมปัญหาด้านบุคลากรและสวัสดิการพนักงาน

     1.      ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานหรือไม่

     2.      ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัทได้หรือไม่

     3.      บริษัทสามารถขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

     4.      การให้สวัสดิการพนักงานมีภาษีขายหรือไม่

     5.      คำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่อย่างไร

     6.      ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ และต้องหักอย่างไร

หัวข้ออบรมสัมมนา

หัวข้อการอบรม

     •       รูปแบบการบริหารงานบุคคลกับสวัสดิการแรงงาน

     •       การจัดสวัสดิการภายในองค์กร : สวัสดิการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง

     •       วันหยุด การศึกษา เศรษฐกิจ นันทนาการ การให้คำปรึกษา การจัดโบนัสและสวัสดิการ ฯลฯ

     •       เจาะลึก ประเด็นภาษีบุคลากรและสวัสดิการ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิประโยชน์ของบุคลากรและพนักงาน (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) ฿ รายจ่ายของกิจการ (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ภาษีซื้อที่จ่ายเนื่องจากการจัดสวัสดิการ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2. ประโยชน์เพิ่ม..คืออะไร เป็นเงินได้พึงประเมินหรือไม่ ต้องรวมคำนวณกับเงินเดือนหรือไม่? 

คำนวณประโยชน์เพิ่มอย่างไร?

3. คลี่คลายประเด็น กับภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้พนักงานอยู่บ้านโดยไม่เสียค่าเช่า/ให้พนักงานได้ใช้น้ำประปาและไฟฟ้าของนายจ้าง/จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงานและกรรมการ/จัดอาหารให้พนักงานระหว่างเวลาทำงาน/ จัดซื้อ Notebook และโทรศัพท์มือถือ I Phone ให้พนักงานและกรรมการ / จ่ายเงินช่วยการศึกษาบุตรพนักงาน/จัดท่องเที่ยวทัศนาจรให้พนักงาน /ให้พนักงานและกรรมการไปดูงานต่างประเทศ/มอบเงินรางวัลตอบแทนพนักงานที่ทำงานครบตามกำหนด/มอบของขวัญวันเกิดให้พนักงาน/มอบเงินช่วยงานศพช่วยงานสมรส/จัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กเลี้ยงดูบุตรของพนักงาน/จัดการศึกษานอกเวลาให้พนักงาน/ จัดสวัสดิการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อรถยนต์/ เงินทดแทนเงินชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายแรงงาน/เงินหรือผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ/ค่าเดินทาง/ค่ารักษาพยาบาล/ค่าเครื่องแบบพนักงาน/แจกหุ้นขายหุ้นให้พนักงาน/ให้พนักงานหรือกรรมการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ Sport Club และ Member club/ให้ทุนพนักงานเรียนต่อในประเทศ หรือต่างประเทศ/มอบของขวัญปีใหม่ให้พนักงาน/มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้พนักงาน /เบี้ยขยันตอบแทนการทำงาน/เงินรางวัลในการปรับปรุงการทำงาน/ทำบุญปีใหม่ประจำปี/จัดรถรับส่งพนักงาน/จัดรถยนต์ประจำตำแหน่ง/ค่าจ้างเหมาพนักงานขับรถยนต์ผู้บริหาร/ตั้งกองทุนให้พนักงานกู้ยืมซื้อรถยนต์โดยไม่คิดดอกเบี้่ย หรือดอกเบี้ยต่ำ/ขายสินค้าต่ำกว่าทุนให้พนักงาน/ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน สำหรับรถยนต์ของพนักงานที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน และอื่นๆ อีกมากมาย

4. นายจ้างจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร? ถึงจะถูกต้องไม่มีภาระทั้งนายจ้างและพนักงาน

     - จ่ายเท่ากันทุกเดือน ดูเหมือนง่าย แต่จริงหรือ  - ไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายอีกเท่าไร และไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายอีกเมื่อไรแล้วจะหักกันอย่างไร

     - จ่ายค่าล่วงเวลา ปรับเงินเดือน จ่ายโบนัส ต้องหักเพิ่มในเดือนไหน แล้วคำนวณอย่างไร

     - นายจ้างหักเกิน หรือไม่ต้องหักแต่ถูกหัก แล้วพนักงานจะทำอย่างไร แล้วใครเป็นคนขอคืน

5. ค่าลดหย่อน คืออะไร ลูกจ้าง (เจ้าของสิทธิ) และนายจ้าง (ผู้มีหน้าที่หักภาษี) เข้าใจดีแล้วหรือยัง

     - บุตรเธอ บุตรฉัน บุตรเรา แล้วไหนจะบุตรบุญธรรม ดูว่าไม่น่า แต่ไม่ว้าวุ่นถ้าเข้าใจ

     - ประกันชีวิตไม่พอต้องเพิ่มประกันชีวิตแบบบำนาญด้วย ถึงจะเจ๋ง 

     - ประกันสุขภาพ ซื้ออย่างไร ซื้อให้ใคร หักได้ หักไม่ได้

     - กู้กับใคร? กู้อย่างไร? ถึงจะหักดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้ - บริจาคอย่างไร? นอกจากได้บุญ แล้วยังได้ชื่อว่า "ฉลาด"

     - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม RMF, LTF มากมายหลายกอง

     - เลี้ยงดูบิดามารดา "กตัญญู" ที่ไม่เคยเสียเปล่า

     - ผู้พิการ "ผู้ทุพพลภาพ" หนึ่งในหัวใจในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม

6. เจาะลึก เคล็ด (ไม่) ลับ..คำนวณเงินได้เพราะเหตุออกจากงาน

     - เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน มีกี่ประเภท แบ่งกันอย่างไร

     - ได้รับเงินก้อนจากนายจ้าง แต่จ่ายปีถัดจากปีที่ออกจากงานจะต้องหรือควรต้องเสียภาษีอย่างไร

     - ควรจะแยกคำนวณหรือจะรวมคำนวณ จะรู้ได้อย่างไร

     - ผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินชดเชยต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้ายกเว้นจะยกเว้นได้เท่าไร

    ** Update ภาษีใหม่ที่น่าสนใจ กับหลักเกณฑ์ง่ายๆ ที่น่าติดตาม (พรก.18/ม.57ฉ)

     - ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ได้จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure fund : Infrafund) และหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการโอนทรัพย์สินของ Infra Fund (พรฎ.544 และประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure fund) ลว. 7 มี.ค 2556)

     - ลดอัตราภาษีสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (พรฎ.566)

     - การยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง (พรฎ.567)

     - มาตรการยกเว้นภาษีให้แก่กลุ่มประชาชนที่รับจัดทำอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2554 (พรฎ.568)

     - กำหนดข้อความในใบเพิ่มหนี้/ ใบลดหนี้ ใบกำกับภาษี และรายงาน VAT (เลข 13 หลัก "สำนักงานใหญ่" หรือ "สาขาที่... ที่ซื้อหรือขายสินค้า (บังคับใช้ 1 ม.ค. 2558) (ประกาศ VAT 194-197 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ VAT 199-202)

     - ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าจำนวนเงินที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันอุทกภัยกับวาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติ (พรก.570)

     - ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีนำเงินกองทุนออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืม (พรฎ.571)

     - ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดจาก 37% เหลือ 35% (พรฎ.575)

ทุกท่านถาม อาจารย์ตอบคำถามที่ค้างคาใจ ทุกปัญหา


ประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนา

1.  ทำความเข้าใจและก้าวทันหลักปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีด้านบุคลากรและสวัสดิการพนักงาน

2.  ศึกษาปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับภาษีด้านสวัสดิการพนักงานที่นักบัญชีปฏิบัติผิดพลาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาที่ควรระมัดระวัง

3.  ได้เทคนิคการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติและกลยุทธ์การขจัดปัญหาภาษีด้านบุคลากรและสวัสดิการพนักงานจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

�ะประเด็นแนวโน้ม ปี 2566/67" />

เทคนิคการจ่ายโบนัสและปรับเงินเดือนประจำปี พิเศษ! เจาะประเด็นแนวโน้ม ปี 2566/67

สำหรับบริษัทมีความสามารถสูงและมีผลประกอบการที่ดี แต่การจ่ายโบนัสและการปรับเงินเดือนประจำปี 66/67 ให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรและผลประกอบการ สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
ดูสัมมนาทั้งหมด »