การออกแบบตัวชี้วัดผลงาน SMART KPIs

รหัสหลักสูตร: 42820

จำนวนคนดู 3959 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
KPI (Key Performance Indicators) หรือดัชนีชี้วัดผลงาน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานที่ได้ปฏิบัติไป และสามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาแผนงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์หรือเป้าหมายขององค์กรได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานทุกคนในองค์กรจะต้องมีความเข้าใจ และถ้าสามารถนำ KPI ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็จะทำให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างมาก แต่ปัญหาและอุปสรรคอย่างหนึ่งที่องค์กรมักจะไม่ประสบผลสำเร็จในการนำระบบ KPI มาใช้งานก็คือ การตั้ง KPI ไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างในองค์กร


หลักสูตรการฝึกอบรมนี้ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ทราบถึงเทคนิคในการกำหนด “ตัวชี้วัดความสำเร็จ” ของผลงาน หรือ Key Performance Indicator (KPI) ที่องค์กรคาดหวัง และแนวทางการนำ KPI ในงานดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่องค์กรคาดหวังได้ในที่สุด


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) เพื่อให้เข้าใจหลักการและความจำเป็นในการใช้ ดัชนีชี้วัด

2) เพื่อเข้าใจขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการสร้างและพัฒนาดัชนีชี้วัด

3) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนด KPIs ให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเองได้

4) เพื่อทราบเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม ลักษณะงาน ความคาดหวังขององค์กรเพื่อสร้างดัชนีชี้วัด

5) เพื่อรู้ถึงแนวทางในการนำ KPI มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานได้

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการอบรม

Ø แนวคิดและหลักการบริหารผลการปฏิบัติงานองค์กรสมัยใหม่

• หลักการวัดผลสำเร็จขององค์กร

• การวางแผนและบริหารแผนกลยุทธ์

• เครื่องมือและการวัดผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่

Ø กระบวนการวางแผนกลยุทธ์องค์กรและแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกัน

• การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก

• การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรด้วย SWOT Analysis และ Five Force Model

• การกำหนดกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT

• แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และระดับหน่วยงาน

• แนวทางการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติงาน (Action Plan)

Ø จากกลยุทธ์สู่ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของฝ่ายงาน

• การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงาน

• ความหมายและความสำคัญของ Objective, Balanced Scorecard หรือ Score Card อื่น ๆ

• การจัดทำแผนที่เชิงกลยุทธ์ (Strategy Map)

• การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติงานด้วยแผนที่กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด

• การเชื่อมโยงและกระจายกลยุทธ์สู่ฝ่ายงานเพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ระดับฝ่ายงาน

Workshop : ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และ ระดับฝ่ายงาน

Workshop : ฝึกปฏิบัติการเขียนแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map)


วันที่ 2

Ø แนวคิดและหลักการกำหนดเป้าหมาย และจัดทำดัชนีชี้วัด KPIs

• การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของหน่วยงาน/องค์กร

• ลักษณะและประเภทของตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

• ลักษณะของ KPI ที่ดี (SMART KPI) และเทคนิคการตั้งค่าเป้าหมาย การเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม

• เทคนิคการจัดทำ KPIs ให้เป็นธรรมและทำให้เกิดการยอมรับของพนักงาน

• กระบวนการออกแบบและการกำหนด KPI

Ø การจัดทำ KPI ที่มาจากแผนธุรกิจและองค์กร สู่แผนปฏิบัติงาน (Action Plan)

Ø กระบวนการวิเคราะห์และจัดทำ KPI ของหน่วยงานและตามตำแหน่งหน้าที่หรืองานประจำ

Ø แนะนำดัชนีชี้วัด KPIs ที่สำคัญของแต่ละหน่วยงานในองค์กร ประโยชน์ และการนำไปใช้งาน

Ø ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขปัญหาจากการใช้ KPI

Ø การนำ KPI ไปเยื่องโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

• ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน

• การกำหนดระดับความสำคัญของตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผล

• การจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มี KPI ของหน่วยงานและรายบุคคล

• ตัวอย่างแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มี KPI

Workshop : การออกแบบและกำหนด KPI ระดับฝ่ายงาน

Workshop : การวิเคราะห์และออกแบบ KPI จากงานตามตำแหน่งหน้าที่หรืองานประจำ

                   หรือการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล


ระยะเวลาฝึกอบรม 2 วัน

วันที่ 3 - 4 สิงหาคม 2560
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

เทคนิคการเช็คสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficient Stock & Inventory Control Tech...

การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก โดยใช้สำหรับแสดงปริมาณและชนิดของสินค้าคงคลังว่ามีมากน้อยเพียงใดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และเพื่อสามารถติดตาม ควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้มีประมาณสินค้าคงคลังไม่มากจนกลายเป็นต้นทุนที่จมอยู่ในคลังสินค้าแล