หลักสูตร Update กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ที่นายจ้างและผู้บริหารต้องรู้
รหัสหลักสูตร: 67470
1
วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568
เวลา 09:00 - 16:00 น.
กำลังรอยืนยันสถานที่
2
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2568
เวลา 09:00 - 16:00 น.
กำลังรอยืนยันสถานที่
3
วันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2568
เวลา 09:00 - 16:00 น.
กำลังรอยืนยันสถานที่
4
วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2568
เวลา 09:00 - 16:00 น.
กำลังรอยืนยันสถานที่
หากท่านต้องการโบร์ชัวร์หลักสูตรเพื่อนำเสนอ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ทันที Course Outline
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.เพื่อให้นายจ้าง ผู้บริหารงานบุคคลทราบถึงการทำสัญญาจ้าง เทคนิคการแก้ไข เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและการออกระเบียบปฏิบัติเพื่อให้สวัสดิการที่จ่ายให้ลูกจ้าง ไม่ให้เป็นค่าจ้าง ต้องเขียนอย่างไร..?
2.เพื่อให้ผู้บริหารงานบุคคลและหัวหน้างานทราบหรือเข้าใจถึงกรอบในการลงโทษทางวินัยต่อพนักงานและการพิจารณาความผิดที่กำหนดลงโทษทางวินัยความผิดลักษณะใดเป็นการตักเตือนหรือในกรณีใดเป็นความผิดที่ร้ายแรงถึงจะต้องมีการเลิกจ้างพนักงาน
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริงในการออกหนังสือเลิกจ้างในกรณีต่างๆ เขียนให้ดีให้มีผลทางกฎหมายและป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังได้ต้องเขียนอย่างไร..?
- นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่ขัดต่อกฎหมาย บังคับใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) มีกรณีใดบ้าง..?
- นายจ้าง มีสิทธิเรียก,รับเงินประกันการทำงานกับลูกจ้างมีกรณีใดบ้าง..?
- สภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากนายจ้างได้กำหนดขึ้น มีกรณีใดบ้าง..?
- สภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง มีกรณีใดบ้าง..?
- กรณีนายจ้างมีนโยบาย,แก้ไข,เปลี่ยนแปลง,ยกเลิก สภาพการจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร..?
- กรณีลูกจ้างมีความประสงค์เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้าง ปฏิบัติให้ถูกกฎหมาย ต้องดำเนินการอย่างไร..?
- นายจ้าง ลูกจ้างตกลงกันกำหนดเหมาจ่ายค่าล่วงเวลาวันละ2 ชั่วโมงรวมกับค่าจ้างในแต่ละวันทำได้ไหมเพราะอะไร..?
- นายจ้างมีนโยบาย,ลดค่าจ้าง,ลดสวัสดิการ,ลดค่าเดินทาง ทำได้ไหม - เพราะอะไร..?
- ลูกจ้างชอบมีพฤติกรรม,มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้มาติดต่องานกับนายจ้าง จะมีความผิดได้รับโทษทางวินัย อย่างไร..?
- ลูกจ้างชอบดื่มสุราหรือเสพสารเสพติดแล้วเข้ามาทำงาน ให้กับนายจ้าง จะมีความผิดได้รับโทษทางวินัย อย่างไร..?
หมวด 2 : การพิจารณาความผิด เพื่อลงโทษทางวินัย
- ลูกจ้างชอบมีพฤติกรรมด่าทอเพื่อนร่วมงาน,ชอบโต้เถียงผู้บังคับบัญชา จะมีความผิดได้รับโทษทางวินัยอย่างไร..?
- ในกรณีลูกจ้างโพสต์ข้อความด่าบริษัทฯ,ด่าผู้บังคับบัญชา,ด่าเพื่อนร่วมงานลงทางไลน์,ทางเฟซบุ๊กจะมีความผิดได้รับโทษทางวินัยอย่างไร..?
- กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้จะมีความผิดอย่างไร..?
- จ้างแรงงานต่างด้าวจ่ายค่าจ้าง,จ่ายสวัสดิการให้ได้รับน้อยกว่า แรงงานไทยนายจ้างทำได้ไหม...เพราะอะไร..?
- นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการเป็นบางส่วน 30 วันเป็นการชั่วคราวต้องแจ้งภาครัฐ,ต้องจ่ายค่าจ้างอย่างไร..?
- กรณีลูกจ้างลางานไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ นายจ้างจะแก้ปัญหาอย่างไร..?
- หัวหน้างาน อนุมัติการลาที่ไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ จนเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายจะมีความผิดอย่างไร..?
- ปัญหาที่ทำให้พนักงานในองค์กรหรือลูกจ้างตามสัญญาจ้างต่างๆทำผิดวินัยบ่อยๆมาจากอะไร..?
- กรณีลูกจ้างออกจากงานนายจ้างไม่ออกใบสำคัญการทำงานให้จะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อลูกจ้างอย่างไร..
- เมื่อเกิดปัญหามีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นในองค์กรมีพนักงานชุมนุมในเวลาทำงานหรือในเวลาพัก ตรวจสอบพบว่านายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้าง เลิกจ้างเป็นบางคนทำได้ไหม...เพราะอะไร..?
- ความผิดที่ผู้บริหาร,หัวหน้างานเป็นผู้ลงโทษทางวินัย เป็นความผิดลักษณะใด..?
- ความผิดที่ผู้บริหารงานบุคคล (HR.) เป็นผู้ลงโทษทางวินัยเป็นความผิดลักษณะใด..?
หมวด 3 : การออกหนังสือเลิกจ้าง และการป้องกันมิไห้ลูกจ้างฟ้องศาลภายหลัง
- การพิจารณาความผิดเพื่อกำหนดลงโทษทางวินัย เป็นหนังสือเตือน หรือสั่งพักงาน เป็นความผิดลักษณะใด..?
- การพิจารณาความผิด เพื่อกำหนดลงโทษทางวินัย เป็นกรณีร้ายแรง ซึ่งจะต้องถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ เป็นความผิดลักษณะใด..?
- ในสัญญาจ้างระบุไว้ว่าในระหว่างเป็นลูกจ้างหรือลูกจ้างออกจากงานไปแล้วภายใน 2 ปี ห้ามมิให้ลูกจ้างเอาความลับทางการค้าของนายจ้างไปเปิดเผยให้กับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้างหรือไปทำงาน,ไปถือหุ้นหรือไปทำธุรกรรมต่างๆ กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนจะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..?
- ลูกจ้างปฏิบัติงานทำความเสียหายแล้วออกจากงานไป นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง,ไม่จ่ายเงินประกันการทำงานคืนให้ ทำได้ไหม...เพราะอะไร..?
- ลูกจ้างทำผิดวินัยร้ายแรงในระหว่างที่นายจ้างสอบสวนความผิดได้ไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างลาออกจากงานเพื่อป้องกัน มิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังต้องบันทึกข้อตกลงอย่างไร..?
- กรณียื่นหนังสือลาออกก่อนออกจากงาน 30 วัน ทำงานได้ 3 วันแล้วไม่ได้มาทำงานอีก ลูกจ้างจะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อนายจ้างอย่างไร..?
- เลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ผ่านทดลองงานหรือในระหว่างขยายระยะเวลาทดลองงานเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง นายจ้างต้องแจ้ง,ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?
- เลิกจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างงานปีต่อปีนายจ้างต้องแจ้ง,ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?
- เลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุมาปฏิบัติงานสาย และนายจ้างได้ตักเตือนแล้วเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง นายจ้างต้องแจ้ง-ต้องจ่ายอะไรบ้าง..?
- เลิกจ้างลูกจ้างที่มีปัญหาด้านสุขภาพ,ลาหยุดงานมาก,หย่อนสมรรถภาพในการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง นายจ้างต้องแจ้ง,ต้องจ่ายอะไรบ้าง..?
- เลิกจ้างลูกจ้าง เพราะพิษเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19 ระบาด เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง นายจ้างต้องแจ้ง-ต้องจ่ายอะไรบ้าง..?
- เลิกจ้างลูกจ้างเพราะปิดกิจการตามสาขาที่นายจ้างเป็นเจ้าของกิจการเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังนายจ้างต้องแจ้ง-ต้องจ่ายอย่างไร..?
- เลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่มีความผิดมีนโยบาย ให้ออกจากงานตามโครงการเกษียณงานก่อนกำหนด ตามที่ระบุไว้ ในข้อบังคับในการทำงาน เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังนายจ้างต้องแจ้ง-ต้องจ่ายอย่างไร.. ?
- กรณีเลิกจ้าง,ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหาย จากกการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นความผิดลักษณะใด..?เลิกจ้างลูกจ้างกรณีเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจจึงมีนโยบายเปลี่ยนนายจ้างใหม่,เปลี่ยนนิติบุคคลเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังนายจ้างต้องแจ้ง,ต้องจ่ายอย่างไร..?
- ลูกจ้างออกจากงานลาออก,ถูกปลดออก,ถูกไล่ออกจะได้รับสิทธิวันลาหยุดพักผ่อนอย่างไร..?
- ลูกจ้างออกจากงาน,ลาออก,ถูกปลดออก,ถูกไล่ออกจะได้รับสิทธิการว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราเท่าใด..?
- นายจ้าง มีนโยบายแก้ไขข้อบังคับในการทำงาน ให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่,ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันจะตัดหรือเพิ่มข้อความ ต้องดำเนินการอย่างไร..?
-ยกตัวอย่าง การแก้ไขหมวด สวัสดิการ หมวดลงโทษทางวินัย พร้อมคำอธิบาย
-ถาม - ตอบ – แนะนำ
-ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา “ ฟรี ” ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย
อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า
อบรมสำหรับองค์กร (กฎหมายแรงงาน การจ้างงาน, กฎหมาย)
เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง 8 ปี และผู้ประนอมคดีในชั้นศาลแรงงานกลาง
กำลังรอยืนยันสถานที่
เขตคลองเตย | กรุงเทพมหานคร