กฎหมายแรงงาน เกี่ยวกับ "การจ้างเหมาแรงงานแบบ Outsourcing ตามมาตรา 11/1
รหัสหลักสูตร: 53558
สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
1.หลักเกณฑ์ที่สำคัญ กฎหมายแรงงาน มาตรา 11/1 ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างเหมางาน แบบ Outsourcing
•ความหมายของการจ้างงานด้วยวิธีการเหมาค่าแรง
•การตีความ ข้อกำหนดที่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน
•ความรับผิดชอบของนายจ้างที่ใช้วิธีการเหมาค่าแรง
•ความรับผิดชอบของนายจ้างผู้ให้บริการแรงงานภายนอก (Labor Supplier)
2.สัญญาจ้างแรงงาน หัวใจสำคัญของการจ้างงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
•องค์ประกอบของการทำสัญญาจ้างแรงงาน
•หลักการในการทำสัญญาจ้างแรงงานอย่างรัดกุมและถูกต้อง
3.ข้อแตกต่างและผลกระทบเกี่ยวกับการทำสัญญาแต่ละประเภทในการจ้างงาน
•สัญญาจ้างแรงงาน
•สัญญาจ้างทำของ
•ตัวแทน
4.ประเภทของสัญญาจ้าง ที่ฝ่าย HR ต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง
•สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา
•สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา
5.ตีแตกประเด็นปัญหาและข้อกฎหมายที่นายจ้าง ฝ่าย HR ผู้บริหารจะต้องพิจารณาให้รัดกุม ก่อนดำเนินการจ้างงาน
•มาตรา 11/1 การจ้างเหมาแบบ Outsource
•มาตรา 12 การจ้างแบบเหมาช่วงงาน แตกต่างกันอย่างไร
•เปรียบเทียบการจ้างเหมาแรงงาน (Supply of Labor) กับการจ้างเหมางาน
6.บุคคลใดบ้าง? ที่ต้องรับผิดร่วมกับนายจ้าง ตามมาตรา 11/1 การจ้างเหมาแรงงานแบบ Outsourcing , มาตรา 12 การจ้างงานแบบเหมาช่วง
•ความหมายและความรับผิดของผู้รับเหมาชั้นต้น
•ความหมายและความรับผิดของผู้รับเหมาช่วง
•สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับเหมาชั้นต้น และผู้รับเหมาช่วง
7.ประเด็นสำคัญ..เกี่ยวกับความรับผิดของ”นายจ้าง” องค์กรที่ใช้แรงงานภายนอก”บริษัท Outsource ผู้รับจ้างเหมาแรงงาน กรณีเกิดการฟ้องร้องคดี และจะต้องรับผิดชอบอย่างไร
•กรณีองค์กรใช้แรงงานภายนอก จะต้องรับผิดชอบอย่างไร? และสามารถดำเนินการไล่เบี้ยกับ บริษัท Outsource ได้หรือไม่
•กรณีบริษัท Outsource จะต้องรับผิดชอบส่วนต่างหรือไม่
8.ข้อควรระวัง..การฟ้องร้องคดี ย้อนหลังของลูกจ้างตามมาตรา 11/1 กรณี”การจัดสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ จะต้องดำเนินการอย่างไร
9.เตรียมความพร้อม..สำหรับการตรวจสอบของสำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กรณีของนายจ้างที่มีการจ้างงานแบบ Outsourcing จะต้องเตรียมตัวอย่างไร อายุความฟ้องร้องได้ภายในกี่ปี?
10.ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คืออะไร หากนายจ้างต้องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้าง จะต้องปฏิบัติอย่างไร? ให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน ทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลหรือไม่อย่างไร
11.การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ภายใต้กฎหมายแรงงานต้องทำอย่างไร
12.กรณีพ้นสภาพการจ้างของลูกจ้างตามมาตรา 11/1 กรณีปลดออก เลิกจ้าง ใครจะเป็นผู้จ่ายค่าชดเชย
13.กรณีศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกา คดีแรงงานที่เกิดขึ้นจริงและส่งผลกระทบกับนายจ้างและสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล
14.ถาม-ตอบทุกประเด็นปัญหา