หลักสูตร ผู้นำในฐานะโค้ช ( Leader as Coach )
รหัสหลักสูตร: 67782
-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
ในฐานะหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้บริหาร นอกเหนือจากการดูแลและรับผิดชอบในผลงานของตนเองแล้ว ยังต้องแสดงภาวะผู้นำในการดูแลและพัฒนาทีมงานให้พัฒนาตนเองและสร้างผลงานให้กับองค์กรได้ด้วย ด้วยความรับผิดชอบและความห่วงใย จึงมีหลายครั้งที่ทั้งหัวหน้าและผู้จัดการมองเห็นปัญหาของทีมงานได้เร็ว และต้องรีบทำหน้าที่คอยช่วยเหลือและหาทางแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป ซึ่งในระยะยาวส่งผลให้ทีมงานต้องพึ่งพิงการดูแลจากหัวหน้า หรือถึงขั้นต้องให้หัวหน้าลงมือช่วย จนทำให้หัวหน้าเองเสียเวลาไปกับทีมจนไม่มีเวลาพัฒนางานและศักยภาพของตนเอง
การให้คำแนะนำทีมงานโดยการบอกวิธีการของเราออกไปเป็นวิธีการที่เร็ว และคาดหวังผลลัพธ์ได้ค่อนข้างชัดเจน แต่อาจขัดขวางต่อกระบวนการเรียนรู้ของทีมงานได้ เพราะทีมงานไม่ได้ใช้ศักยภาพของตนเองในการคิดและหาทางสู่เป้าหมายด้วยตนเอง อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการตัดสินใจ ไม่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบผลลัพธ์ หรือแม้กระทั่งสร้างความขัดแย้งได้ อันเนื่องมาจากประสบการณ์ ความเชื่อ ความคิด ของแต่ละคนล้วนมีความแตกต่างกัน การนำวิธีการที่ดีของเราไปให้คนอื่นๆ ใช้ทุกๆ ครั้ง เขาก็จะไม่สามารถคิดวิธีการของตนเอง หรืออาจจะใช้วิธีการของเราได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเราก็เป็นได้
ผู้นำในฐานะโค้ช จึงเห็นศักยภาพของตัวเองและทีมงาน และมองพฤติกรรมที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นเป็นเพียงหลุมพรางที่ทีมงานติดอยู่ ผู้นำในฐานะโค้ชจึงสามารถใช้กระบวนการโค้ชทำหน้าที่ส่องกระจกให้ทีมงานมองเห็นศักยภาพในตนเองที่มากขึ้น เพื่อก้าวข้ามความเชื่อที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของเขา สามารถคิดหาวิธีการที่จะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการด้วยตัวเขาเอง และสร้างการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการตัดสินใจ
การใช้การโค้ชด้วยการใช้หลักการของสมองและจิตวิทยาเชิงบวกในการบริหารทีมงาน จะช่วยให้ทีมงานใช้ศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น มีการเรียนรู้และพัฒนาได้เร็วเพราะสามารถคิดเพื่อสร้างแนวทางใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง และมีทัศนคติเชิงบวกและความสุขต่อการทำงาน เพราะได้ใช้สิ่งที่เป็นคุณค่าของตนเองในการทำงาน ได้พัฒนาต่อยอดศักยภาพของตนเองให้มากขึ้น และยังใช้สิ่งที่ตัวเองมีเพื่อช่วยเหลือคนอื่นๆ อีกด้วย
การสร้างวัฒนธรรมโค้ชในองค์กร (Creating Coaching Culture) จึงเป็นการทำให้บุคลากรทุกระดับภายในองค์กร มองเห็นประโยชน์ของการพัฒนาและช่วยเหลือกัน ผ่านการเข้าใจในศักยภาพของแต่ละคน แล้วเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและเกิดการตระหนักรู้ ด้วยตัวเองกับวิธีการที่จะนำไปสู่ เป้าหมายของตัวเองได้ด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งกันและกัน
การโค้ช (Coaching) ไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด เพียงแต่หลักการของการโค้ช มีความละเอียดอ่อนที่ไม่ช่วยเหลือ ผู้รับการโค้ชโดยตรง เพราะต้องการให้เขาได้ใช้ศักยภาพของเขาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำไปสู่การลงมือทำด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่การบังคับ แต่ก็ไม่ใช่การโยนปัญหาให้เขาแก้ไขเอง แต่จะอยู่เคียงข้างกันไปตลอดการเดินทางคอยเป็นพี่เลี้ยงดูแล ช่วยเหลือแบบการกระตุ้นให้สร้างแนวคิดของตัวเองออกมามากว่า ทำให้ผู้เรียนได้รับการโค้ชเกิดความมั่นใจในตัวเอง และเต็มใจปฏิบัติตัวเองใหม่ (เปลี่ยนแปลง) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจ
การสร้างวัฒนธรรมการโค้ช สามารถเริ่มต้นได้ที่แนวความคิดของผู้บริหารที่พร้อมจะเปิดโอกาสให้บุคลากรได้คิด และมีส่วนคิดด้วยตัวเอง มากกว่าการต้องสั่งให้ทำตาม หากผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน มีความเชื่อว่า ทีมงานสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยการนำความรู้ ความสามรถของตัวเองออกมาได้เองแล้ว วัฒนธรรมการโค้ชก็จะเกิดขึ้นได้อย่างง่ายๆ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อการสร้างแนวทางการพัฒนาตัวเองให้กับผู้จัดการ/หัวหน้างานในเรื่องทักษะการโค้ชต่อการบริหารทีมงาน และกระตุ้นจูงใจให้ทีมงานทำงานอย่างมีประสิทธิผล
2.เพื่อให้การพัฒนาเกิดความต่อเนื่องด้านการโค้ช และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหัวหน้างานได้อย่างแท้จริง จนกลายเป็นธรรมชาติเป็นที่ยอมรับของลูกน้อง
3.เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการนำทักษะการโค้ชในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนากรอบความคิด ทักษะการฟังเชิงลึก ทักษะการตั้งคำถามที่ทรงพลัง ทักษะการตั้งเป้าหมาย ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและบริหารผลงานตาม Style ของตัวเอง
4.เพื่อสร้างวัฒนธรรมการโค้ชให้เกิดขึ้นในองค์กร (Creating Coaching Culture) เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
•Teaching for Knowledge เพื่อให้ข้อมูลหรือทำความเข้าใจเนื้อหาตามหัวข้อบรรยาย
•Training for Skill เพื่อฝึกทักษะผ่านการทดลองคิด วางแผนและปฏิบัติ ผ่านแบบทดสอบ กิจกรรม และกรณีศึกษา
•Coaching for Explore เพื่อสำรวจสิ่งที่เป็นหลุมพราง ความเชื่ออันจำกัด ซึ่งเป็นตัวฉุดรั้งความสำเร็จ และหันมาค้นหาศักยภาพ จุดแข็ง หรือคุณค่าที่ดีที่สามารถนำมาใช้สร้างแนวทางสู่ความสำเร็จของตนเอง
•Coaching for Change ใช้กระบวนการ Coaching เพื่อสร้างเป้าหมาย ทางเลือกใหม่ๆ และแรงจูงใจที่จะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
Brain & Mind Based Training ทำความเข้าใจธรรมชาติการทำงานของสมองและจิตใจ ในการเรียนรู้ สร้างสภาวะที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้สมองของผู้เรียนมีความสุข ไม่ทำให้เกิดความกลัวหรือความกังวล เน้นการพัฒนาจากจุดแข็ง และใช้สมองส่วนคิดให้มากขึ้นเพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ แทนการตกอยู่ใต้อิทธิพลของสมองส่วนอารมณ์ที่เป็นลบ แล้วใช้วงจรพฤติกรรมเดิมในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
Experiential Based Learning คือ เน้นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult learning) โดยการเชื่อมโยงหลักการหรือแนวทางปฏิบัติกับประสบการณ์ตรงของผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการมองเห็น ยอมรับ และตัดสินใจอยากเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยตนเอง พร้อมทั้งสามารถประยุกต์ใช้หลักการที่เรียนกับบทบาทหน้าที่ งานที่รับผิดชอบ ปัญหาหรือเป้าหมายที่ท้าทาย ได้ทันทีในระหว่างเรียน
Principle of Coaching : หลักการ ความสำคัญ กรอบความคิด องค์ประกอบ และกระบวนการโค้ช
ช่วงที่ 1 หลักการและความสำคัญของผู้นำในฐานะโค้ช และองค์ประกอบของการโค้ช
- Recipes of TRUST
- 13 Competencies & Characteristic of TRUST
- Self Affirmation with Strengths Based Leadership
- หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโค้ช
- บทบาทของโค้ชสำหรับการพัฒนาทีมงาน
- กรอบความคิดและทัศนคติสำหรับการเป็นโค้ช และความสำคัญของการการพัฒนาทีมงาน
- องค์ประกอบของการโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมงาน
ช่วงที่ 2 ความแตกต่างของการพัฒนาทีมงานในแต่ละบทบาท (TAPS Model)
•Teaching เพื่อสอนให้ทีมงานเข้าใจได้ง่ายและเกิดการจดจำอย่างเข้าใจในการนำไปปฏิบัติ
•Training เพื่อให้ทีมงานสามารถปฏิบัติตามวิธีการจนกลายเป็นทักษะความเชี่ยวชาญ
•Coaching เพื่อกระตุ้นให้ทีมงานอยากเปลี่ยนแปลงตนเองและดึงศักยภาพออกมาขับเคลื่อนเป้าหมาย
•Counseling เพื่อเยียวยาจิตใจในสภาวะกดดัน–หมดไฟ–ใจท้อ–ไม่กระตือรือร้น–ไม่อยากทำงาน
•Consulting เพื่อแนะนำทางเลือกในการแก้ปัญหาในการทำงานให้กับทีมงาน
•Mentoring เพื่อแนะนำวัฒนธรรมองค์กร การปรับตัวเข้ากับองค์กร หรือตำแหน่งที่ดำรงอยู่
Workshop : แบบฝึกหัด การพัฒนาทีมงานตามสถานการณ์
ช่วงที่ 3 Coaching Skills : ฝึกการใช้คำถามและเครื่องมือในการโค้ชเพื่อการกระตุ้นศักยภาพในการขับเคลื่อนผลงาน (Powerful Questions)
•Positive Directional : ใช้คำถามไปในทิศทางบวกเสมอ
•Awareness : สามารถใช้คำถามช่วยให้โค้ชชี่ มองเห็น ยอมรับ รับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงที่กำลังเผชิญด้วยตนเอง
•Reflection : สามารถใช้คำถาม ช่วยให้โค้ชชี่ได้ไตร่ตรอง และสร้างความกระจ่างชัดในเป้าหมาย ความต้องการที่แท้จริง ทรัพยากร ศักยภาพ คุณค่า และความเป็นตัวตน
•illumination & Solution : สามารถใช้คำถาม ที่ช่วยจุดประกายและตุ้นให้ โค้ชชี่เกิดการเรียนรู้ และได้เเนวทางใหม่ๆ
•Motivation & Change focus : สามารถใช้คำถามสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงและมุ่งสู่การลงมือทำเพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่
ช่วงที่ 4 The GROW Coaching Model
•G : Goal สามารถพาโค้ชชี่ค้นพบความต้องการที่ชัดเจน มีคุณค่า และเป็นประโยชน์ ส่งผลให้โค้ชชี่มีความพร้อมที่จะตั้งใจหาวิธีการไปสู่เป้าหมายด้วยใจที่มุ่งมั่น
•R : Reality สามารถพาโค้ชชี่สำรวจความเป็นจริงใจปัจจุบันของตนเอง เพื่อให้โค้ชชี่มองเห็นศักยภาพของตนเองในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
•O : Option สามารถทำให้โค้ชชี่มองเห็นทางเลือกและวิธีการใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น และมีความพร้อมในการลงมือปฏิบัติ สู่การบรรลุป้าหมาย
•W : Way Forward สามารถทำให้โค้ชชี่ตัดสินใจเลือกวิธีการ ที่อยู่บนพื้นฐานของศักยภาพ และวิธีการที่เหมาะสมสำหรับตนเอง และเกิดความเต็มใจที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมาย
• Coaching Process เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการโค้ชเพื่อการพัฒนาศักยภาพทีมงาน
•Workshop Coaching in Practice : ฝึกปฏิบัติการโค้ชจริง
After Action Review (AAR)
•AAR สะท้อนและตกผลึกการเรียนรู้จากตนเองและผู้อื่น เพื่อการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม
•Feeling ความรู้สึกและมุมมองใหม่ๆที่เกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรม
•Learning สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกระบวนการและจากความรู้สึก มุมมอง ที่เกิดขึ้นภายในตนเอง
•Acting เป้าหมายและวิธีการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานให้เติบโตอย่างยั่งยืน
สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท: | SeminarDD Academy |
ชื่อผู้ประสานงาน: | ผู้จัดงาน |
เบอร์โทรศัพท์ : | 097-474-6644 |
หากท่านต้องการสมัคร หลักสูตร ผู้นำในฐานะโค้ช ( Leader as Coach )
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training