หลักสูตร ทักษะการเป็นพี่เลี้ยงในองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนผลงาน (Mentoring Skill for High Performance) หลักสูตร 2 วัน
รหัสหลักสูตร: 68018
-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
หลักการและเหตุผล
บริษัทที่มีการจัดการที่ดี จะให้ความสำคัญในการรักษาดูแลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวเอง ซึ่งมีทั้งที่มีความชัดเจนเป็นระบบ และวิธีการที่ไม่ชัดเจน เช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีหน้าที่ในการดูแลพนักงานใหม่ อันได้แก่ พี่เลี้ยง (Mentoring) ซึ่งเป็นการดูแลอย่างเป็นระบบชัดเจน อย่างมีกระบวนการ การเป็นที่ปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling) เป็นการให้คำปรึกษาเพื่อดูแลจิตใจ เพื่อช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรและวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างร่วมเร็ว พร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมที่เป็นที่ต้องการขององค์กร ซึ่งส่งผลให้พนักงานสามารถปรับตัวและมีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยให้ทีมงานสามารถพัฒนาศักยภาพภายในตนเองเพื่อขับเคลื่อนผลการดำเนินงานที่รับผิดชอบ ผ่านการสอนแนะอย่างมีกระบวนการหรือที่เรียกว่าการโค้ช (Performance Coaching)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทของพี่เลี้ยง ได้อย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทดังกล่าว
2.เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเทคนิคการ ปรึกษาและดูแล (Mentoring) ไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรได้ตามสภาวะที่เหมาะสมด้วย Style ของตัวเอง
3.เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring System) ในองค์กรมากขึ้น เพื่อการรักษาและสร้างความผูกพันภายในองค์กร
4.เพื่อให้สามารถนำคุณสมบัติและวิธีปฏิบัติของผู้นำแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้พัฒนาในฐานะพี่เลี้ยงไปประยุกต์ใช้ ในการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ และไว้เนื้อเชื่อใจในองค์กร
- การปรึกษาและดูแลพนักงานในฐานะพี่เลี้ยง (Mentor)
• การเป็นที่ปรึกษาและดูแลในฐานะพี่เลี้ยง (Mentoring) คืออะไร?
• แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ในการดูแลพนักงานใหม่
• บทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยงที่สำคัญต่อการรักษาคนและสร้างความผูกพันภายในองค์กร
• ขอบเขตความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำในการปรับตัวเข้ากับองค์กรของพนักงานใหม่
• หลุมพรางที่เป็นอุปสรรคในการสร้างระบบพี่เลี้ยง
• กระบวนการและการดำเนินการในการทำหน้าที่พี่เลี้ยงในการดูแลพนักงานใหม่
• คุณลักษณะและทัศนคติของพี่เลี้ยงที่ดี
• Workshop: ออกแบบการเป็นพี่เลี้ยงของตัวเองในการดูแลทีมงาน
- ตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายชื่อและข้อมูลพนังานพนักงานใหม่
- ตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายชื่อข้อมูลพี่เลี้ยง
- การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเบื้องต้น สำหรับพี่เลี้ยง
• การกำหนดหลักสูตรอบรมมาตรฐานกลาง
- ปฐมนิเทศพนักงานใหม่
- ความปลอดภัยในการทำงาน
- หลักสุขอนามัยส่วนบุคคล
- ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ
• วิเคราะห์หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานของแต่ละสายงาน/หน่วยงาน
• การจัดทำ Skills Matrix หลักสูตรการฝึกอบรมมาตรฐานของหน่วยงาน
• การวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานสำหรับตำแหน่งาน
• การจัดทำ Skills Matrix หลักสูตรการฝึกอบรมมาตรฐานของตำแหน่งงาน
• การจัดทำ Training Roadmap สำหรับ Mentee
• แนวทางการติดตามและประเมินผลการพัฒนา Mentee
• Workshop: วิเคราะห์และออกแบบแผนพัฒนา Mentee ของตนเอง
- แนวทางการจัดทำ Onboarding Program สำหรับพนักงานใหม่
- ออกแบบ Skills Matrix ของ Mentee ในตำแหน่งงานที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง
(กรณีมี Mentee ในการดูแลหลายคนและหลายตำแหน่งงาน)
- ออกแบบ Training Roadmap การพัฒนา Mentee
- วิเคราะห์ความแตกต่างของการพัฒนาทีมงานในแต่ละบทบาท (TAPS Model)
• วิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทีมงานด้วย KSA Model
• Teaching เพื่อสอนให้ทีมงานเข้าใจได้ง่ายและเกิดการจดจำอย่างเข้าใจในการนำไปปฏิบัติ
• Training เพื่อให้ทีมงานสามารถปฏิบัติตามวิธีการจนกลายเป็นทักษะความเชี่ยวชาญ
• Coaching เพื่อกระตุ้นให้ทีมงานอยากเปลี่ยนแปลงตนเองและดึงศักยภาพออกมาใช้ในการทำงาน
• Counseling เพื่อเยียวยาจิตใจทีมงานในสภาวะกดดัน – หมดไฟ–ใจท้อ –ไม่กระตือรือร้น –ไม่อยากทำงาน
• Consulting เพื่อแนะนำทางเลือกในการแก้ปัญหาในการทำงานให้กับทีมงาน
• Mentoring เพื่อแนะนำวัฒนธรรมองค์กร การปรับตัวเข้ากับองค์กร หรือตำแหน่งที่ดำรงอยู่
• Workshop: เทคนิคการผสมผสานบทบาทการพัฒนาทีมงานในแต่ละบทบาทเข้าด้วยกันเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• Workshop: ออกแบบแผนพัฒนาทีมงานที่อยู่ในความรับผิดชอบในฐานะพี่เลี้ยง
• Workshop: ออกแบบแนวทางการติดตามและประเมินผลการพัฒนา Mentee
- การให้ความช่วยเหลือและการดูแลจิตใจในฐานะที่ปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับพี่เลี้ยง
• การเป็นที่ปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling) สำหรับการเป็นพี่เลี้ยง
• แนวคิดพื้นฐานของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา
• ความเหมือนและความแตกต่างของ Mentoring และ Counseling
• การผสาน Mentoring และ Counseling เพื่อการดูแลพนักงานใหม่และสร้างความผูกพันในองค์กร
• ความเข้าใจพื้นฐานทางจิตใจและการเข้าใจคน
- การเข้าใจโลกภายในเพื่อการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยากับคนที่มีความแตกต่างกัน
- การเข้าใจผลกระทบทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นในช่วงของการเริ่มงานใหม่ของพนักงาน
- การเข้าใจกระบวนการในจิตใจและในความสัมพันธ์
• หลักการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อช่วยเหลือ ดูแลจิตใจของพนักงานใหม่
• กระบวนการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อการช่วยเหลือ และดูแลใจของพนักงานใหม่
• เป้าหมายของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา
- Meta goals: 4 เป้าหมายหลักในการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา
• รู้สึกถึงคุณค่าของตนเองมากขึ้น (Better self-esteem)
• ตัดสินใจเลือกได้ดีขึ้น (Better choice maker)
• รับผิดชอบชีวิตตัวเองมากขึ้น (More responsible)
• จิตใจมีความสอดคล้องกลมกลืนมากขึ้น ( More congruence)
- Specific goal: คลี่คลายสิ่งที่ค้างคาใจเฉพาะเรื่องนั้นๆไป เป็นเป้าหมายเฉพาะในการคำปรึกษาครั้งนั้น
- ทักษะที่สำคัญในการเป็นที่ปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling)สำหรับพี่เลี้ยง (Mentor)
- ฝึกปฏิบัติ: ทักษะการอ่านและเข้าใจคน เพื่อการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ให้เกิดความไว้วางใจ
- ART: ศิลปะการสื่อสารและการสร้างความไว้ใจในทีมงานก่อนการโค้ช
A: Approach การเข้าหาและการบริหารคนตามสภาวการณ์และสไตล์การทำงาน
- การอ่านและเข้าใจคนแต่ละประเภท และการประยุกต์ใช้กับบริบทของการเป็นผู้นำ
- วิเคราะห์รูปแบบการตัดสินใจที่แตกต่างกันและวิธีโน้มน้าวใจคนแต่ละประเภท
- ธรรมชาติของสมองกับการพัฒนาตนเอง (4F for Survive)
R: Rapport การพิชิตจิตใต้สำนึกและจูงใจทีมงาน
- อิทธิพลของความแตกต่างทางบุคลิกภาพอันส่งผลต่อความไว้วางใจ และความขัดแย้งของผู้คน
T: Trust การสร้างความไว้วางใจ และสร้างศรัทธาสำหรับผู้นำ
• แนวทางการสร้างความสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจในการบริหารทีมงานแต่ละสไตล์ด้วย 3V Model
• ฝึกปฏิบัติ: ทักษะการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อการเข้าใจภายในจิตใจ(Iceberg)ผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง
- เรียนรู้หลักการทางจิตวิทยาเชิงลึก ผ่าน Satir Transformational Systemic Therapy
- ความแตกต่างระหว่างการฟังแบบ Empathy and Sympathy
- การฟังเพื่อเข้าใจภายในจิตใจของพนักงานใหม่ในมิติต่างๆ (เช่น ความรู้สึก/มุมมอง/ความคาดหวัง/ ที่มีต่อ ตนเอง – งานของตนเอง -เพื่อนร่วมงาน – และองค์กร/ความปรารถนาที่แท้จริง
• การเข้าใจพฤติกรรมและสาเหตุแห่งพฤติกรรม
• การเข้าใจความรู้สึก
• การเข้าใจกรอบความคิดและศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน
o ค่านิยม / ความเชื่อ / ความรู้ /ประสบการณ์
• การเข้าใจความคาดหวัง
• การเข้าใจความปรารถนาที่แท้จริงที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรม
- สิ่งที่เป็นอิทธิพลและส่งผลต่อการฟัง
• บทบาท (หมวกที่ใส่) ในขณะนี้
• จุดประสงค์ (เจตนา) ของการฟังในครั้งนี้
• กรอบความคิด (Mindset) ที่ใช้ในการฟัง
• ความสามารถในการรับรู้ (Perception) ในขณะนั้น
• สภาวะอารมณ์( Emotion)ที่เกิดขึ้น
• การให้ความหมาย (Meaning)ในเรื่องที่ได้ยิน
- พฤติกรรมที่ส่งผลให้การฟังไร้ประสิทธิภาพ
• ฝึกปฏิบัติ: ทักษะการใช้คำถามเพื่อสำรวจและเข้าใจภายในจิตใจของพนักงานใหม่ที่อยู่ภายใต้การดูแล
- การใช้คำถามพูดคุยเรื่องทั่วไป ( General Questions)
- การใช้คำถามให้ผู้รับคำปรึกษาสำรวจตัวเอง( Explored Questions)
- การใช้คำถามเพื่อแสดงความเข้าใจเชิงลึก ( Insightful Questions)
- การใช้คำถามเพื่อความกระจ่างชัด ( Clarifying Questions)
- การใช้คำถามเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษามีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การใช้คำถามแบบท้าทายกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง(Challenging Questions)
- การใช้คำถามแบบเฉียบคมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ( Laser Questions)
- การใช้คำถามเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถสร้างแนวทาง ในการจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง ( Solution Questions)
- การใช้คำถามเพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษากำหนดเป้าหมายของตนเองและกระตุ้นการยืนยันในการลงมือปฏิบัติ ( Commitment Questions)
- หลุมพรางในการใช้คำถามสำหรับการให้คำปรึกษาในฐานะพี่ลี้ยง
- ความเชื่อของ Satir Transformational Systemic Therapy เกี่ยวกับศักยภาพและความเป็นมนุษย์
- 5 Essential elements: องค์ประกอบที่สำคัญและส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา
- ฝึกปฏิบัติ : ดำเนินการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามกระบวนการในฐานะพี้เลี้ยง
- การฝึกประยุกต์ใช้การเป็นพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาในองค์กร
• สิ่งที่ปรึกษาเชิงจิตวิทยาและพี่เลี้ยงควรปฏิบัติ
• ข้อควรระวังในการเป็นปรึกษาเชิงจิตวิทยาและพี่เลี้ยง
• เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
• ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ
- ทักษะการโค้ช(Coaching) เพื่อการขับเคลื่อนผลงานสำหรับการเป็นพี่เลี้ยง(Mentor)
• กระบวนการโค้ชเพื่อการพัฒนาศักยภาพทีมงาน
- การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ Rapport & Trust
- การตั้งเป้าหมายร่วมกัน Goal Setting
- การใช้คำถามกระตุ้นศักยภาพ Powerful Question
- การฟังเชิงลึก Deep Listening
- การสะท้อนกลับเพื่อสร้างความกระจ่างชัด Reflection
- การสร้างการเปลี่ยนแปลงและคำมั่นสัญญาในการลงมือปฏิบัติ Commitment to change
• การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง ทีมงาน และงาน ด้วยเครื่องมือ SMART Goal Setting
- ปลุก Passion ปั้น Performance ด้วยการตั้งเป้าหมายชีวิตที่สอดคล้องกับการทำงาน
-เป้าหมายของโค้ชชี่
-เป้าหมายที่โค้ชชี่อยากทำ
-เป้าหมายที่ท้าทายความสามารถ
-เป้าหมายที่เป็นไปได้
-เป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงชัดเจน
-เป้าหมายที่มีระยะเวลาแน่นอน
- เรียนรู้กระบวนการโค้ชชิ่ง ด้วยเครื่องมือการโค้ชชิ่ง Coaching Card
- ฝึกใช้เครื่องมือการโค้ชชิ่งด้วย GROW Model
- ฝึกใช้เครื่องมือการโค้ชชิ่งด้วย Strategic Model
- แนวทางการประยุกต์ใช้การสอนแนะในองค์กร (Coaching) สำหรับพี่เลี้ยง
• กระบวนการสอนแนะ (Coaching) อย่างเป็นระบบ
• เทคนิคการออกแบบโปรแกรมการสอนแนะ (Coaching)
• Workshop: บทพูดของโปรแกรมการสอนแนะ (Coaching)
• Role Playing: การดำเนินการ 1:1 Coaching โดยวิทยากร
• ออกแบบโปรแกรมการสอนแนะ (Coaching)
• กำหนดเป้าหมายการสอนแนะด้วยตัวเอง
• Role Playing: การดำเนินการ 1:1 Coaching ด้วยตัวเอง
- การปฏิบัติการโค้ชเพื่อการขับเคลื่อนผลงานในมิติต่างๆผ่าน Coaching Model Canvas
2.1 โมเดลการโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อเหตุการณ์
2.2 โมเดลการโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.3 โมเดลการโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนตัวเองในปัจจุบัน
2.4 โมเดลการโค้ชเพื่อการก้าวข้ามปัญหาเละอุปสรรค
2.5 โมเดลการโค้ชเพื่อการค้นหาจุดที่เหมาะสมของตนเอง
2.6 โมเดลการโค้ชเพื่อการจัดลำดับความสำคัญของงาน
2.7 โมเดลการโค้ชเพื่อการพัฒนาการสื่อสารให้เกิดประสิทธิผล
2.8 โมเดลการโค้ชเพื่อสร้างการคิดกลยุทธ์พิชิตเป้าหมาย
2.9 โมเดลการโค้ชเพื่อการสร้างกลยุทธ์การเเข่งขันในธุรกิจ
2.10 โมเดลการโค้ชเพื่อการประเมินทางเลือกในการตัดสินใจ
Workshop: เลือกโมเดลที่ต้องการนำไปใช้ เพื่อฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญในห้องเรียนตามระยะเวลาที่กำหนด
- การให้ข้อมูลป้อนกลับและการให้คำปรึกษาสำหรับพี่เลี้ยง เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Feedback & Consulting
• ฝึกปฏิบัติ : ทักษะการให้กำลังใจและการให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก
- การชื่นชมเพื่อสร้างกำลังใจ
- ชื่นชมสิ่งที่ดี
- พูดถึงศักยภาพที่เหลืออยู่
- จูงใจให้ก้าวข้ามอุปสรรค
- ให้กำลังใจในการเผชิญปัญหา
- สร้างความมั่นใจให้ผู้รับคำปรึกษา
- เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วย Alexander Technique
• การให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ FISHs Model
• เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับ WRI Feedback
- การบ้านเพื่อการนำไปปฏิบัติและฝึกฝน
• สร้างแนวทางในการพัฒนาการเป็นพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และยั่งยืน
• ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวางแผนการนำความรู้และทักษะที่เรียนไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงในการทำงานของตนเอง พร้อมทั้งสร้างแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
Plan เลือกสถานการณ์ที่คาดว่าจะพบเจอ และวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้
Do นำไปปฏิบัติจริงกับสถานการณ์จริง
Check ประเมินผลลัพธ์ของการนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง (สิ่งที่ทำได้ดี / สิ่งที่ควรพัฒนา)
Sustainable พัฒนาแนวทางไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าอย่างยั่งยืน
- หัวหน้างาน
- ผู้จัดการ
- ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นพี่เลี้ยง
สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท: | SeminarDD Academy |
ชื่อผู้ประสานงาน: | ผู้จัดงาน |
เบอร์โทรศัพท์ : | 097-474-6644 |
หากท่านต้องการสมัคร ทักษะการเป็นพี่เลี้ยงในองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนผลงาน (Mentoring Skill for High Performance)
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training