หลักสูตร การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง Spare Part อย่างมีประสิทธิภาพ (Spare Part Inventory Management) - หลักสูตร 1 วัน
รหัสหลักสูตร: 66271
1
วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567
เวลา 09:00 - 16:00 น.
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
2
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567
เวลา 09:00 - 18:00 น.
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
3
วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567
เวลา 09:00 - 16:00 น.
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
หากท่านต้องการโบร์ชัวร์หลักสูตรเพื่อนำเสนอ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ทันที Course Outline
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training
หลักการและเหตุผล
การจัดการสินค้าคงคลังวัสดุ (Spare Part Inventory Management) เป็นการจัดการในการรับ การตรวจสอบและตรวจนับ การจัดเก็บสินค้าประเภทวัสดุได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง รวมถึง การหยิบสินค้า ตรวจสอบ และจัดส่งวัสดุให้ผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายหลักในการบริหารและดำเนินการจัดการในคลังสินค้าวัสดุก็เพื่อให้เกิดระบบที่ดี มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน รวมถึงการควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย การป้องกันและลดการสูญเสียจากการดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำอย่างเหมาะสม เพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งานได้ และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่คลังสินค้าวัสดุ การจัดการคลังสินค้าวัดสุจึงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในโซ่อุปทาน รวมถึงการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังวัสดุ (Spare Part Inventory Control) ซึ่งต้นทุนสินค้าคงคลังวัสดุเป็นต้นทุนการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนั้นการจัดการสินค้าคงคลังวัสดุมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่สามารถมีสินค้าคงคลังวัสดุบริการให้กับผู้ใช้งานในปริมาณที่เพียงพอ และทันต่อการความต้องการอยู่เสมอ สามารถลดระดับการลงทุนในสินค้าคงคลังวัสดุให้ต่ำอย่างเหมาะสม และเพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงได้อีกด้วย
1. เพื่อสามารถบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะคลังสินค้าวัสดุ (Spare Part) และสามารถควบคุมและเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนในการการทำกิจกรรมต่าง ๆภายในคลังสินค้าวัสดุได้
2. เพื่อลดต้นทุนและพื้นที่การจัดการปริมาณสินค้าคงคลังวัสดุจำนวนมาก
3. เพื่อสามารถจัดเก็บสินค้าประเภทวัสดุในคลังสินค้าได้อย่างเหมาะสมตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
4. เพื่อสามารถทราบข้อมูลสินค้าคงคลังวัสดุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และครบถ้วน เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
5. สามารถเติมเต็มสินค้าคงคลังวัสดุได้ทันเวลาและอย่างเพียงพอ และสามารถจัดเก็บสินค้าวัสดุได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่คลังสินค้า
6. เพื่อลดเวลา Breakdown Maintenance และงาน Preventive Maintenance ว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องการใช้อะไหล่เพื่อการซ่อม หรือเพื่อการบำรุงรักษา ต้องหาได้ในทันทีหรือใช้เวลาน้อยที่สุด
1. หลักการพื้นฐานการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง
- ความสำคัญและประโยชน์ของการบริหารสินค้าคงคลัง
- ระบบการบริหารคลังสินค้ากับบริหารสินค้าคงคลัง
- ประเภทของสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการสินค้าคงคลังสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบและวัสดุ อุปกรณ์
- การวิเคราะห์ต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง
2. การวิเคราะห์ความสำคัญของสินค้าคงคลังวัสดุ
- การวิเคราะห์สินค้าคงคลังวัสดุด้วยแนวคิด ABC Analysis
- การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis)
- การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (FSN Analysis)
- การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามมูลค่าราคา (HML Analysis)
- การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามระยะเวลาในการส่งมอบ (SDE Analysis)
3. การวางแผน ควบคุม และการคำนวณปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
- การวิเคราะห์จุดสั่งซื้อซ้ำ (Re-Order Point: ROP) และการคำนวณ
- การคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity: EOQ) และข้อจำกัด
- สินค้าเผื่อเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock : SS) และปริมาณที่เหมาะสม
- วิธีการลดปริมาณสินค้าคงคลังวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การประเมินความสามารถในการบริหารสินค้าคงคลัง
- ดัชนีชี้วัดการดำเนินงานการบริหารสินค้าคงคลัง (KPIs) และการวิเคราะห์
- กรณ๊ศึกษาการจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลัง
วิธีการสัมมนา
- การบรรยาย การให้คำปรึกษา และร่วมอภิปราย
อนันต์ ดีโรจนวงศ์
อบรมสำหรับองค์กร (โลจิสติกส์, ระบบมาตรฐานและคุณภาพ, คลังสินค้า, อบรมจัดซื้อ)
การจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics & Supply Chain Management), Warehouse Management, การจัดการด้านขนส่ง, การบริหารจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลัง
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
ห้อง null
เขตคลองเตย | กรุงเทพมหานคร