บริหารการส่งออก (Export Management)  เรื่องเล่า SME ตอน Exchange Rate Part 3 (Financial Tool)
อบรมสำหรับองค์กร

จำนวนเข้าชม 2513 ครั้ง

บริหารการส่งออก (Export Management) เรื่องเล่า SME ตอน Exchange Rate Part 3 (Financial Tool)

Sponsored
หลักสูตร : การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ( Project Feasibility Analysis ) อบรมในรูปแบบ Online ผ่าน Zoom

          การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และความกดดันจากการแข่งขันที่เข้มข้นเป็นเหตุใ...

ดูรายละเอียด
หลักสูตร : การคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะอย่างเป็นระบบเพื่อความสำเร็จในการทำงาน ( Analytical System for Logical Thinking to Successful Working ) อบรมในรูปแบบ Online ผ่าน Zoom

ที่มาของหลักสูตร   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนานั้น เริ่มต้นจากการพั...

ดูรายละเอียด

บริหารการส่งออก (Export Management)


เรื่องเล่า SME ตอน Exchange Rate Part 3 (Financial Tool)


หมายเหตุ : Exchange part 1 & 2 เป็นบทความนี้เขียนไว้เมื่อปี 2560 แต่มาปี 2562 เราก็ประสบปัญหาอีกแล้ว ก็เลยเอามาเพิ่มเติมกันอีก เผื่อเป็นประโยชน์ครับ


เก็บตกจากงาน การบริหารจัดการความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยน สำหรับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ,1 Feb 2019 at New Economy Academy (NEC)

(NEC อยู่ภายใต้กรมส่งเสริมการส่งออก)


ก็ต้องขอชมคนจัดงานครับ ที่สามารถดึงให้คนมาเข้า มาร่วมได้มาก จนกระทั่งต้องเปิดห้องเสริมกันเลยครับ

ในงานวันนี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน จากการส่งออกและนำเข้า ซึ่งเป็นประเด็น Hot ของประเทศไทยเรา

แต่ไม่ใช่ว่าเราเป็นประเทศเดียว ประเทศอื่นๆเขาก็เป็นเหมือนกัน ดังนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร


แต่ที่เป็นปัญหาหน่อย ก็ตรงที่ว่า รัฐบาลกำลังส่งเสริมให้ SME เติบโต แต่ถ้าจะมาตายเอาตอนส่งออก ก็ยุ่งเหมือนกัน จากตัวเลขที่ เศรษฐกิจที่กำลังเติบโตจากการส่งออก จนขนาดแบงก์ชาติ (Bank of Thailand) ยังพูดเลยว่าปีนี้ (2562) ก็จะไม่น้อยกว่า 4% แน่นอน SME ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำเกิดตัวเลขนี้ด้วย

ดังนั้นการที่กรมส่งเสริมฯโดย NEC ที่จัดงานในวันนี้ ก็ถือว่าทัน ต่อเหตุการณ์มาก ก่อนที่จะมีปัญหาจากการขายมาก แต่ไม่มีกำไร ของ SME รายใหม่ หรืออาจเป็นรายเก่า ที่ยังไม่รู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน


จากบทความเรื่อง Ex-Change อันแรกที่ เขียนไปแล้ว และไม่ได้คิด ว่าจะต้องเขียนต่อ แต่เมื่อมาฟังงานนี้แล้ว ก็ถือโอกาสที่จะได้ให้ ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

ก่อนหน้านี้ ผมได้พุดไว้แล้วว่า Ex-change rate ของปี 2017 Jan VS Dec นั้น ค่าเงินบาทเราแข็งขึ้นมาตลอด โดยมีความแตกต่างกันถึง 7% นั้นหมายถึงว่า

เราได้เงินบาทกลับมาจากขายของ ลดลงไป ลองคิดดู ถ้าคุณขายของแล้วจู่ๆ เงินหายไป 7% ก็ยุ่งนะสิ มันเป็นกำไรขั้นต้นนะครับ (ลองนึกถึงแผนการชำระหนี้ และอะไรมี มากมายที่คุณว่างแผนที่จะต้องจ่ายจะทำอย่างไร)


(ไปอ่านบทความ ก่อนหน้านี้จะช่วยให้ข้อมูลในพื้นฐานได้มากขึ้น ไปดูที่ The Pinciple (Ex-change Rate)

https://anant-vachiravuthichai.blogspot.com/…/11/exchange.h…


กลับมาที่การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางการเงิน ขอสรุปให้ดังนี้ครับ

วิธีการขายสินค้าไปต่างประเทศ จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบ การใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงครับ


1.ถ้าคุณเสนอขายโดยมี เงื่อนไขแบบควบคุม เช่น Advance Payment, LC at sight ซึ่งเงื่อนไขแบบนี้ ค่อนข้างมั่นใจว่าคุณได้ เงินแน่ๆ

> แต่ก็ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การขึ้นลงของค่าเงินบาท ที่เป็นปัญหา อยู่ในตอนนี้ ทำให้คุณจะไม่ได้เงินแบบที่ต้องการ

> ดังนั้นเครื่องในการแก้ปัญหา มีถึง 4 วิธี ที่ถูกนำมาใช้โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในประเทศไทย

1.1เปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit)

1.2การทำสัญญาซื้อ/ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract)

1.3 การซื้อสิทธิ์ที่จะขายเงินตราต่างประเทศในอนาคต (Options)


สำหรับวิธีนี้ ทางรัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยให้ Bank of Thailand จัดทำมาตรการช่วยเหลือออกมา ที่เรียกว่า “โครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SME” ซึ่งจะช่วยเหลือเป็นเงินถึง 30,000 บาทต่อราย


1.4 อัตราแลกเปลี่ยนทางตรง (Direct Rate) ตกลงซื้อขายกัน โดยใช้เงินบาทไปเลย

2.ถ้าคุณเสนอขายโดยมี เงื่อนไขแบบเปิด เช่น การให้ Payment Term (การชำระเงินหลังการส่งมอบ อาจจะเป็น 30 วัน หรือมากกว่านั้น ที่เราเรียกกันว่าแบบ Open Account


>ซึ่งวิธีนี้จะปัญหาว่า การขายแบบนี้มีความเสี่ยงสูง เพราะผู้ซื้ออาจ ไม่ชำระเงินให้เรา

>เราจึงต้องเอาเรื่อง การประกันการส่งออกมาใช้ (Export Credit Insurance) ที่ EXIM bank (Export-Import bank of Thailand) เป็นผู้ดำเนินการ (รัฐบาลก็ช่วยเราอีกล่ะ)


แต่ก็เหมือนซื้อประกันนะครับ ต้องมีค่าใช้จ่ายบ้าง (Export Credit Insurance อันนี้ไม่ใช่ประกันภัยที่ใช้กับการขนส่งนะครับ คนละตัวกัน)

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ขอแสดงความยินดีด้วยสำหรับท่านเคยผ่าน Class เปิดโลกธุรกิจ..ด้วยการส่ง ไปแล้ว


ผมได้ให้ประเด็นนี้ใน การเรียนไปแล้ว ซึ่งก็น่าจะช่วยให้เกิดแนวคิดในการป้องกันได้บ้างแล้ว

ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่หรือเล็ก คุณในฐานะเจ้าของธุรกิจ

คุณจะต้องเรียนรู้เรื่องนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่อย่างนั้นคุณจะ เจอกับสภาพแบบนี้ได้


“คุณต้องขายของเท่าไหร่ เพื่อจะชดเชยกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น”


หมายเหตุ : เป็นไปได้ที่คุณอาจจะต้องใช้มันทั้งข้อ 1 และ 2 และรูปแบบการบริการทางการเงินทั้งหมดนี้ ผู้ให้บริการ (Bank) สามารถให้คำปรึกษากับท่านได้ เพราะถ้าผมจะเขียนออกมา ก็น่าจะ 4-5 หน้ากระดาษกันล่ะครับ ถ้ารวมถึงการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย อาจจะว่ากันเป็นเล่มล่ะ
------------------------------------------------------------------------


By Anant Vachiravuthichai อนันต์ วชิราวุฒิชัย

#principle4biz  #tangram  #หลักการเพื่อธุรกิจ

เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »

วิทยากรด้าน อบรมสำหรับองค์กร ดูวิทยากรทั้งหมด »