โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การสร้างความตระหนักรู้ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” “Cyber Security Awareness Training” รุ่น 2

รหัสหลักสูตร: 46713

จำนวนคนดู 7497 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
วัตถุประสงค์

1)เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีพื้นฐานคำศัพท์เทคนิคที่สำคัญ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน

2)เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความตระหนักรู้ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ทีเป็นภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเอง และองค์กร

3)เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมรู้วิธีการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามสมัยใหม่ที่มาพร้อมการใช้งานอินเทอร์เน็ต

4)เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถนำความรู้นำไปต่อยอดในการประกอบวิชาชีพด้านระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาค เอกชนองค์กรขนาดใหญ่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1)ช่วยให้ผู้เข้ารับอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงานและป้องกันตนเองในชีวิตประจำวัน

2)ร่วมมือกันสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ รวมถึงช่วยกันส่งเสริมความรู้และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ

การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคามไซเบอร์ของบุคลากรด้วยกันและระหว่างองค์กร

3)ร่วมมือกันจัดทำแผนทดสอบและซ้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ในการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง เพื่อให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างทันการณ์

4)ร่วมมือกันช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์หรือประสานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ในกรณีที่เกิดเหตุ


หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการบรรยายและพร้อมปฏิบัติการ

(1) แนวโน้มการใช้งานดิจิทัลในยุคปัจจุบัน

    1)สถิติและข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ต

    2)สถิติและข้อมูลการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและต่างประเทศ

    3)สถิติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์

    4)สังคมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เงินดิจิทัล (Cryptocurrency)

(2) แนวโน้มภัยคุกคามสมัยใหม่ที่มีผลกระทบต่อประชาชน

    1)สถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

    2)สถิติการติดเชื้อไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ

    3)ความมั่นคงของข้อมูลคือความมั่นคงของประเทศ

(3) นิยามหรือคำศัพท์เทคนิคที่สำคัญควรรู้

    1)ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์(Cyber Security) คืออะไร

    2)ประเภทภัยคุกคามมีอะไรบ้าง

    3)องค์ประกอบของ INFOSEC (Information Security)

    4)Confidentiality (การรักษาความลับของข้อมูล)

    5)Integrity (ความแท้จริงของข้อมูล) และ

    6)Availability (การใช้งานได้ของระบบ) ฯลฯ

(4) ประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ประชาชนควรรู้

    1)ภัยคุกคามที่เกิดจากการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ (Worm) , ข้อมูลขยะ (Spam) , ข้อมูลหลอกลวง (Phishing)

    2)เรียนรู้ภัยคุกคามจากการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตี DDoS/DoS , Web Application Hacking , Brute Force พร้อมสาธิตให้ถึงผลลัพธ์การโจมตีที่เกิดขึ้น

    3) เรียนรู้ศัพท์เทคนิคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีและส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ต

    4)ภัยคุกคามที่เกิดจากข้อมูลชวนเชื่อ (Propaganda)

    5)ภัยคุกคามที่เกิดจากไวรัสเรียกค่าไถ่ (Ransomware)

    6)เรียนรู้ข้อมูลจาก Deepweb , Darknet ข้อมูลใต้ดินที่ควรรู้เพื่อการป้องกันภัย

    7)การอำพรางตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต (Anonymous) ได้แก่ การอำพรางค่าไอพีแอดเดรส และการตรวจสอบค่าไอพีเพื่อการป้องกันภัย

(5) การตรวจสอบข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการป้องกันภัยที่เกิดขึ้น

   1)เรียนรู้การตรวจสอบรายชื่อผู้จดทะเบียนเว็บไซต์ E-mail ที่ใช้จดทะเบียน ค่าสถานที่ในการจดทะเบียน

   2)เรียนรู้ขั้นตอนการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อหาเส้นทางการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต

   3)เรียนรู้เส้นทางการเชื่อมต่อข้อมูลภายในประเทศไทย และ การเชื่อมต่อข้อมูลต่างประเทศ

   4) เรียนรู้การตรวจสอบค่าไอพีบัญชีดำ (IP Blacklist)

   5)เรียนรู้การตรวจสอบค่าโดเมนบัญชีดำ (Domain Blacklist)

   6)เรียนรู้การตรวจสอบไฟล์ที่แนบมากับ E-mail เพื่อหลีกเลี่ยงการติดไวรัสคอมพิวเตอร์

   7)เรียนรู้วิธีสังเกตการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตเพื่อความปลอดภัยในการค้นหาข้อมูล การตรวจสอบเว็บไซต์ที่อันตราย

   8)การตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเพื่อความปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส

   9)การตรวจสอบแอพลิเคชั่นบนมือถือและการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Facebook , Line ) ให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน

   10)เรียนรู้การรักษาความลับและข้อมูลส่วนตัว เพื่อการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต

(6) การสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม

   1) วิธีการสร้างความปลอดภัยในการท่องอินเทอร์เน็ต

   2)วิธีการป้องกันภัยคุกคามจากการใช้งานข้อมูลสารสนเทศภายในองค์กร

(7) การจำลองสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์เพื่อให้เห็นภาพภัยคุกคามที่เกิดและความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ภาคหน่วยงานรัฐ และระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ต

(8) กรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริง


วัน เวลา และสถานที่

      วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เวลา 9.00 – 17.00 น. ณ The Connection MRT ลาดพร้าว กรุงเทพฯ


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Security, Cyber Security, Event, งานฝึกอบรม, ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์, Hacker

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร : การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ( Project Feasibility Analysis ) ...

ขอเชิญอบรม หลักสูตร : การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ( Project Feasibility Analysis ) #โครงการนั้นมีความเหมาะสม มีความคุ้มค่าและมีความเป็นไปได้ที่จะมีโครงการนั้นอยู่หรือไม่ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มโครงการใดๆ ก็ตาม เราควรจะต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้