หลักสูตร การวัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือน (Vibration Analysis ) อบรม 2 วัน

รหัสหลักสูตร: 67715

จำนวนคนดู 93 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม
หลักสูตร การวัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือน (Vibration Analysis ) อบรม 2 วัน
รอบที่

-

ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้

ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่

หลักการและเหตุผล

       การวิเคราะห์ปัญหาด้วยการวัดการสั่นสะเทือน ที่ครอบคุมปัญหาต่างๆได้ เกือบทั้งหมด !

       เมื่อเดินเข้าไปในโรงงาน บอกได้ไหม? ว่าเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องไหน? มีสุขภาพเป็นอย่างไร? เครื่องไหนดี แย่หรือต้องแก้ไข

      การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยวิธี วัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือน เป็นระบบบำรุงรักษาตรวจวัด สุขภาพเครื่องจักรทำให้รู้ล่วงหน้าว่า เครื่องจักรแต่ละเครื่อง มีสุขภาพ “ดี” หรือ “ แย่” หรือ
“ต้องแก้ไข” ป้องกัน Breakdown และทำให้การซ่อมบำรุงรวดเร็วลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง ลดการจัดเก็บวัสดุ อะไหล่ และเพิ่มผลผลิตมากขึ้น

       การสัมมนานี้ เน้นจากประสบการณ์ ภาคปฏิบัติ ทำให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวัด วิเคราะห์ สาเหตุแก้ไขปัญหาได้ จากการวัดวิธีง่ายๆที่เป็นแบบตัวเลข มิเตอร์
แบบการสั่นสะเทือนโดยรวม (OVERALL VIBRATION) และการวัดวิเคราะห์แบบรายละเอียด ความถี่สเปกตรัม (Spectrum) ยืนยันสาเหตุของปัญหา


วัตถุประสงค์

1.หนังสือฉบับสมบูรณ์ “การวัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือน เพื่อการบำรุงรักษา”

2.มีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น การวัด วิเคราะห์สั่นสะเทือน

3.สาเหตุที่มา ของการสั่นสะเทือน เพื่อแก้ไข ป้องกันเครื่องจักรตั้งแต่จุดเริ่มต้น

4.ฝึกภาคปฏิบัติ พร้อมเครื่องจักรจำลอง เครื่องมือ การวัด วิเคราะห์

5.ตัวอย่างใช้งานได้ทันที แบบฟอร์มรายงาน การตัดสินใจซ่อมบำรุงรักษา

หัวข้ออบรมสัมมนา
วันที่ 1

1.ความรู้ พื้นฐาน การวัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือน

  • การสั่นสะเทือนคืออะไร ?
  • ประเภทของการสั่นสะเทือนและความหมาย
  • การสั่นสะเทือน เกิดจากอะไร มีสาเหตุที่มา มาจากอะไรบ้าง
  • การแก้ไข ป้องกันเพื่อขจัดปัญหาก่อนการใช้งาน ทำให้เครื่องจักรไร้ปัญหามีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น

2.การตัดสินใจเลือกวัดขนาดการสั่น ที่ถูกต้องตั้งแต่แรก

  • วัดขนาดการสั่นสะเทือนเป็นระยะทาง (Displacement)
  • วัดขนาดการสั่นสะเทือนเป็นความเร็ว (Velocity)
  • วัดขนาดการสั่นสะเทือน เป็นความเร่ง (Acceleration)

3.ค่าวัดขนาดการสะเทือน

  • วัดเป็นค่าสูงสุด (Peak )
  • วัดค่าสูงสุดบน - ตํ่าสุดล่าง (Peak - to - Peak ; PK - PK)
  • ค่าเฉลี่ย Root Mean Square : RMS
  • อัตราส่วน Peak เรียกว่า Crest Factor : CF ใช้วัด - วิเคราะห์การเสียหายของ Bearing (เม็ดหมุน)

4.ความถี่ (Frequency) คืออะไร

  • ความถี่แรงกระทำ (Force Frequency)
  • ความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency)

5.ปรากฏการณ์ RESONANCE และการป้องกัน แก้ไข

6.ตำแหน่งจุดวัดการสั่นสะเทือน และการกำหนดตำแหน่ง

7.ทิศทางวัด – วิเคราะห์สาเหตุผิดปกติของเครื่องจักร

8.ประเภทเครื่องมือมิเตอร์วัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือนโดยรวม (Overall) และหัววัดการสั่นสะเทือน

9.เกณฑ์ตัดสินใจความรุนแรง การสั่นสะเทือน แค่ไหน ดี แย่ ต้องแก้ไข อ้างอิงมาตรฐาน ระบบ ISO2372, ISO10816

  • การกำหนดพิกัดเตือน (Max 1) เฝ้าติดตาม ทำนายอายุใช้งาน วางแผน แก้ไข
  • การกำหนดพิกัดอันตราย (Max 2 ) วางแผนแก้ไขทันที่ ร่วมกับฝ่ายผลิต

10ฝึกภาคปฏิบัติ การวัด วิเคราะห์สาเหตุ แก้ไขปัญหา ด้วยมิเตอร์วัดการสั่นสะเทือนโดยรวม (Overall)

  • วัด วิเคราะห์ โครงสร้าง แท่นรองรับเครื่องจักร
  • มอเตอร์ (Moto)
  • การไม่สมดุล (Unbalance)
  • การติดตั้งไม่ตรงแนวศูนย์ (Misalignment)
  • การหลวมคลาย- ยึดไม่แน่น (Looseness)
  • การวิเคราะห์ การเสียหายจากแบริ่ง (Roller Bearing)

วันที่ 2

1.ความรู้ ความเข้าใจ หลักการวัด วิเคราะห์ความถี่ สเปกตรัม (Spectrum Analysis Or FFT Analysis)

2.ลักษณะเครื่องมือวัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือนความถี่สเปกตรัม (Vibration Analyzer)

3.การปรับตั้งเครื่องมือวัด วิเคราะห์ ความถี่สเปกตรัม (Spectrum)

4.หลักการ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ของการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนความถี่สเปกตรัม (Spectrum)

  • การค้นหาความถี่หลักของความเร็วรอบเพลาหมุน (Running Speed Frequency)
  • การค้นหาความถี่ช่วงซํ้าเท่าๆกัน (Harmonic Frequency)
  • การปรับตั้งย่านความถี่การวิเคราะห์ แต่ละปัญหา
  • การวิเคราะห์ ลักษณะความถี่สเปกตรัม (Spectrum) แต่ละปัญหา สาเหตุ

5ภาคปฏิบัติหลักการวิเคราะห์ความถี่สเปกตรัม (Spectrum) แต่ละปัญหา สาเหตุที่เกิดกับเครื่องจักรหลัก เช่นมอเตอร์ ไฟฟ้า พัดลม ปั้ม เกียร์ ลูกกลิ้ง โรเลอร์ Bearing

  • แท่นรองรับเครื่องจักร (Foundation)
  • Resonance
  • การไม่สมดุล (Unbalance)
  • การติดตั้งไม่ตรงแนวศูนย์ (Misalignment)
  • การหลวมคลาย- ยึดไม่แน่น (Looseness)
  • การวิเคราะห์การเสียหายจากแบริ่ง (Roller Bearing) ,การใช้ความถี่สูงวิเคราะห์ (HFD)
  • เฟือง, เกียร์ (Gear)
  • ปั้มนํ้า ใบพัดปั้ม กังหัน
  • พัดลม โบวล์เออร์ ใบพัด

6.ฝึกภาคปฏิบัติ วัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือน ความถี่สเปกตรัม (Spectrum Vibration Analysis)

วิทยากร
คุณสมบัติผู้เข้าฟัง/กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้จัดการฝ่ายซ่อม ฝ่ายผลิต วิศวกร ช่างเทคนิคซ่อมบำรุง
ภาษาในการบรรยาย
ไทย
ประกาศนียบัตร

สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อย่าลืมบอกผู้จัดงานว่าเห็นประกาศจากเวป "สัมมนาดีดี" นะคะ
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท:SeminarDD Academy
ชื่อผู้ประสานงาน:ผู้จัดงาน
เบอร์โทรศัพท์ :097-474-6644

หากท่านต้องการสมัคร หลักสูตร การวัด วิเคราะห์การสั่นสะเทือน (Vibration Analysis ) อบรม 2 วัน
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้


ค่าฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ 200%
ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training

คำค้นประกาศนี้ Tags: การวัด, วิเคราะห์การสั่นสะเทือน, เครื่องจักร, สาเหตุผิดปกติของเครื่องจักร, เครื่องมือมิเตอร์วัด, ความถี่สเปกตรัม

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด