เรื่อง “วิธีการ ลงโทษทางวินัย แบบสร้างสรรค์ ความไม่เข้าใจในทางปฏิบัติ ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง จะแก้ไขอย่างไร”

รหัสหลักสูตร: 48747

จำนวนคนดู 2862 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
                      เหตุการณ์ทำนองนี้มักเกิดขึ้นเสมอ ๆ

•วินัยเริ่มเสื่อมโทรมเมื่อเห็นพนักงานที่เกเรไม่ถูกลงโทษและผู้บังคับบัญชาไม่กวดขันวินัย

•ฝ่ายบุคคลกับผู้บังคับบัญชามีความเห็นแย้งกันในเรื่องการลงโทษ เช่น ผู้บังคับบัญชาต้องการเลิกจ้าง แต่ฝ่ายบุคคลเห็นว่าโทษแค่ตักเตือนครั้งสุดท้าย หรืออย่างดีก็แค่พักงานเท่านั้น แต่ผลก็คือฝ่ายบุคคลเป็นฝ่ายปราชัย และเมื่อนายจ้างพ่ายแพ้คดีในศาลฝ่ายบุคคลกลับโดนตำหนิ

•การลงโทษเกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงมาก เช่น ฝ่ายผลิตลงโทษตามกฎระเบียบแต่ฝ่ายช่างลงโทษแค่ตักเตือนด้วยวาจาหรือไม่ลงโทษเลย และในหลาย ๆ สถานประกอบการฝ่ายบุคคลต้องดำเนินเรื่องลงโทษทุกขั้นตอน

•ผู้บังคับบัญชาลงโทษไปแล้วแต่กว่าฝ่ายบุคคลจะรู้ก็ต่อเมื่อได้รับหมายศาลหรือข้อร้องทุกข์ซึ่งสายไปเสียแล้ว

•พนักงานแอบเล่นการพนัน นอนหลับ ใช้สิทธิลาป่วยในทางที่มิชอบ ฯลฯ แต่ไม่มีหลักฐานที่จะลงโทษได้ทำให้พนักงานคนอื่น ๆ เอาอย่างบ้างเพราะถือว่าถึงอย่างไรก็เอาเรื่องไม่ได้ จนกลายเป็นปัญหาวินัยเสื่อมโทรม

•ผู้จัดการ หัวหน้างาน หรือพนักงาน มีพฤติกรรมโกงกินหรือเบียดบังผลประโยชน์หรือกระทำตนในลักษณะที่ไม่ชอบมาพากล แต่ขาดพยานหลักฐานผูกมัด เช่น รู้ว่ามีพฤติกรรมไม่น่าจะซื่อสัตย์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นต้น ซึ่งสร้างปัญหาให้แก่นายจ้างเป็นอันมาก ครั้นจะดำเนินการเด็ดขาดก็ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นตรงไหนและจบลงอย่างไร ปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยและการเลิกจ้างรวมทั้งพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ และไม่เหมาะสมที่จะอยู่กับองค์กรต่อไปมีอีกมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาเพื่อหาลู่ทางป้องกันแก้ไขเสียโดยเร็ว

การสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นการนำเสนอวิธีการต่างๆ ที่ใช้ได้ผลในทางปฏิบัติมาแล้วโดยจะเน้นการแก้ปัญหาทางวินัย การลงโทษทางวินัย และการเลิกจ้างทั้งที่มีความผิดและไม่ถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างรวมทั้งการใช้ “มาตรการพิเศษ” จัดการกับลูกจ้างที่ชอบสร้างปัญหา แต่ขาดหลักฐานสนับสนุนด้วย เพราะหากขืนปล่อยไว้จะทำให้วินัยเสื่อมโทรม


หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการสัมมนา

•วิธีการรักษาระเบียบวินัยและการแก้ไขปัญหาทางวินัยเสื่อมโทรม และการใช้ “มาตรการพิเศษ” แก้ไขปัญหา

•การวางหลักเกณฑ์การลงโทษทางวินัย และการเลิกจ้างเพื่อให้ถูกต้องทั้งในแง่ของ MERIT และในแง่ของ PROCEDURE ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการลงโทษและเลิกจ้าง

•การดำเนินการรับพนักงานที่ทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งประเภท “ทำไม่ได้เพราะไม่รู้” และ “รู้แต่ไม่ทำ”

•ยุทธวิธีการแก้ปัญหาการรวมหัวกันดึงงาน หรือชะลองานเพื่อต่อต้านมาตรฐานการทำงานใหม่หรือแสดงความไม่พอใจบางสิ่งบางอย่างและการ ฝ่าฝืนคำสั่งและต่อต้านคำสั่งต่าง ๆ

•เทคนิคการเลิกจ้าง กรณีที่ไม่ได้สืบเนื่องมาจากความผิดของพนักงาน เช่น คนล้นงาน การปรับโครงสร้าง การยกเครื่อง การลดขนาด ฯลฯ

•แนวคำพิพากษาที่ใช้ประกอบการพิจารณาและตรวจสอบการลงโทษและเลิกจ้าง

•ข้อกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยและการเลิกจ้างและแนวการพิพากษาที่ควรยึดถือเป็นบรรทัดฐาน

•ตัวอย่างข้อบกพร่องของนายจ้างในการลงโทษและการเลิกจ้างอันเป็นเหตุทำให้แพ้คดี

•ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยวินัยฉบับมาตรฐานและลู่ทางในการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับที่หละหลวม

•กลยุทธและเคล็ดลับการดำเนินการลงโทษการตั้งข้อกล่าวหา และเลือกบทลงโทษ และวางรากฐานเพื่อต่อสู้ และชนะคดีในศาล

•การใช้ “มาตรการพิเศษ” กับพนักงานที่ชอบสร้างปัญหาแต่ขาดพยานหลักฐานผูกมัด เช่น ปัญหาทุจริตเบียดบังผลประโยชน์ ร่ำรวยผิดปกติ กระทำตนเป็นปรปักษ์กับนายจ้าง แกล้งหรือวางยานอนหลับนายจ้างด้วยกลวิธีต่าง ๆ เช่น แอบถล่มนายจ้างด้วยใบปลิวที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง ฯลฯ


วันพฤหัสบดี ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 09.00 น.-16.00 น. 
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ลงโทษทางวินัย, HR, นายจ้าง, ูลูกจ้าง, ความขัดแย้ง, งานบุคคล

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

เจาะลึก การค้นหา/การคัดเลือก/การตรวจประเมิน/การทำข้อตกลงกับผู้ขายแบบครบถ้วน สำหร...

หัวข้อนี้ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ครบถ้วน สำหรับ งานจัดหา (Procurement) เพราะคลอบคลุม ทุกขั้นตอนตั้งแต่การค้นหา / การคัดเลือก / การตรวจประเมิน ทุกองค์กรต้องการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานจัดซื้อ แน่นอนหน่วยงานจัดซื้อนั้น มี 2 หน้าที่ ที่ต้องทำให้ได้