หลักสูตร เบียร์เกมและการบริหารสินค้าคงคลัง
รหัสหลักสูตร: 65558
-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
บทนำ
ปัญหาหนึ่งที่สำคัญของการบริหารงานด้านโลจีสติกส์ คือ การบริหารสินค้าคงคลัง โดยทั่วไปในองค์กร เมื่อเกิดปัญหาสินค้าขาดแคลน ฝ่ายขายมักโทษฝ่ายผลิตหรือฝ่ายจัดซื้อหรือฝ่ายคลังสินค้า ในขณะที่ฝ่ายผลิตหรือฝ่ายจัดซื้อหรือฝ่ายคลังสินค้า ก็พยายามรักษาระดับสินค้าคงคลังไม่ให้มากเกินไป แต่ถึงอย่างไรก็ยังพบปัญหาสินค้าค้างสต๊อกอยู่จำนวนมาก ทั้งๆ ที่มีเหตุการณ์สินค้าขาดแคลนอยู่เสมอ
ถือว่านับเป็นเรื่องยากที่จะเรียน วิชาการบริหารสินค้าคงคลัง ให้เข้าใจได้ภายในวันเดียว แต่หลักสูตรนี้ ได้นำเอา "เบียร์เกม" เกมจำลองสถานการณ์การกระจายสินค้า เป็นเกมเชิงจิตวิทยา เพื่อให้ผู้เล่น เข้าใจหลักการและความสำคัญของการบริหารโซ่อุปทาน ปรับทัศนคติให้ผู้ปฏิบัติงานทุกส่วนงานเข้าใจกัน มองเห็นปัญหาที่ระบบการบริหารจัดการว่า แท้จริงปัญหาเกิดขึ้นที่ระบบ ไม่ใช่ที่ตัวบุคคล อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรที่เน้นสอนวิชา การบริหารสินค้าคงคลัง ในแบบฉบับที่ผู้เข้ารับการอบรมทุกระดับเข้าใจได้ง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการและความสำคัญของการบริหารโซ่อุปทาน ปรับทัศนคติให้ผู้ปฏิบัติงานทุกส่วนงานเข้าใจกัน มองเห็นปัญหาที่ระบบการบริหารจัดการ พร้อมทั้งเรียนรู้หลักการบริหารสินค้าคลังคลัง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริง
หัวข้อฝึกอบรม
- กิจกรรม "เบียร์เกม" เพื่อปูพื้นฐานการบริหารโซ่อุปทาน
- แนวคิดการบริหารสินค้าคงคลัง
- การวิเคราะห์ ABC Analysis
- เทคนิคการพยากรณ์
- จุดสั่งซื้อใหม่ (ROP)
- การสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ)
- การคำนวณค่าเผื่อเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock)
- การวางแผนความต้องการใช้วัสดุ (MRP)
- เงื่อนไข ข้อจำกัด การบริหารสินค้าคงคลังในรูปแบบต่างๆ
- การนำไปปฏิบัติ และตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานจริง
วิธีการอบรม
บรรยาย ฝึกให้ทุกคนคิด มีส่วนร่วม พร้อมกิจกรรมและการนำไปใช้งานจริง
สัมมนานี้ไม่ได้รับประกาศนียบัตร
เบอร์โทรศัพท์ : | 097-474-6644 |
หากท่านต้องการสมัคร เบียร์เกมและการบริหารสินค้าคงคลัง
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training