หลักสูตร เทคนิคการออกระเบียบปฏิบัติและการพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัย
รหัสหลักสูตร: 67475
-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริงต่อการออกระเบียบปฏิบัติ ,ออกหนังสือเป็นประกาศ หรือออกหนังสือลงโทษทางวินัยพนักงาน ที่ไม่ขัดแย้งต่อข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ หรือไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
2.เพื่อให้ผู้บริหารทราบและสร้างความเข้าใจในกระบวนการสอบสวนความผิดทางวินัยของพนักงาน หรือเพื่อพิจารณาความผิดและลงโทษพนักงานอย่างไร..ให้ถูกต้องตามหลักของกฎหมายแรงงานหรือตามคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีแรงงาน
3.เพื่อให้ทราบถึง กรณีลูกจ้างออกจากงาน เช่นไม่ผ่านทดลองงาน, สิ้นสุดสัญญาจ้าง, ลูกจ้างลาออก, นายจ้างเลิกจ้างหรือ ลูกจ้างเกษียณงานก่อนกำหนดจะได้รับสิทธิวันลาหยุดพักผ่อนอย่างไร..หรือจะได้รับสิทธิการว่างงานอย่างไร..?
- ลูกจ้างมาทำงานสายนายจ้างหักค่าจ้างไม่ได้ วิธีที่จะทำให้นายจ้างหักค่าจ้างได้ต้องออกระเบียบปฏิบัติอย่างไร..?
- สวัสดิการที่เป็นค่าจ้าง นายจ้างไม่อยากให้เป็นค่าจ้าง ต้องกำหนดเงื่อนไขการจ่าย อย่างไร..?
- การออกหนังสือลงโทษทางวินัยเป็นหนังสือตักเตือนด้วยวาจา และทำเป็นบันทึกการเตือนต้องกำหนดอย่างไร..?
- การออกหนังสือลงโทษทางวินัยตักเตือนเป็นหนังสือต้องกำหนดความผิดอย่างไร..?
- การออกหนังสือลงโทษทางวินัยตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรต้องกำหนดไม่ให้ผิดซ้ำคำเตือนอย่างไร..?
- การออกหนังสือลงโทษทางวินัย กรณีพักการทำงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง ต้องกำหนดอะไรบ้าง..?
- การออกหนังสือบันทึก กรณีพนักงานไม่ยินยอมรับความผิดในหนังสือเตือน ต้องกำหนดข้อความอย่างไร..?
- การออกประกาศห้ามมิให้พนักงานโพสข้อความด่าทอ , เสียดสีนายจ้าง หรือเพื่อนร่วมงานลงทางสื่อโซเชี่ยลต่างๆ
- การออกประกาศ นโยบายห้ามมิให้พนักงานมีส่วนเกี่ยงข้องกับยาเสพติดในองค์กรต้องมีข้อกำหนดอย่างไร..?
- การออกประกาศ นโยบายคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ในองค์กร ต้องมีข้อกำหนดอย่างไร..?
- การออกระเบียบปฏิบัติการใช้โทรศัพท์มือถือในวันและเวลาทำงานให้กับนายจ้าง ต้องกำหนดอย่างไร..?
- การจัดทำหนังสือลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทฯต้องกำหนดให้เหตุผลอย่างไร..?
- การจัดทำหนังสือรับเงินเพื่อแนบกับหนังสือลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทฯต้องกำหนดข้อความอย่างไร..?
- ในแต่ละปีลูกจ้างลาป่วยมาก เพื่อเป็นการให้สิทธินายจ้างเข้าตรวจสอบวันลาป่วยของลูกจ้างได้ต้องออกกฎเหล็กอย่างไร..?
- การออกประกาศ นโยบายแจ้งเลิกจ้างพนักงานตามโครงการเกษียณงานก่อนกำหนด ต้องกำหนดอย่างไร..?
- การออกหนังสือใบสมัครเข้าร่วมตามโครงการเกษียณงานก่อนกำหนดตามข้อบังคับฯ,ต้องกำหนดอย่างไร..?
- การออกหนังสือใบลาออกตามโครงการเกษียณงานก่อนกำหนดตามข้อบังคับฯ,ต้องกำหนดการอนุมัติอย่างไร..?
- การออกหนังสือเลิกจ้างกรณีบริษัทฯได้รับผลกระทบจากโควิด - 19 ระบาด ต้องให้เหตุผลอย่างไร..?
- การออกหนังสือเลิกจ้าง กรณีพนักงานหยุดงานมาก (หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน) ต้องให้เหตุผลอย่างไร..?
- การออกหนังสือเลิกจ้าง กรณีพนักงานทำผิดวินัยร้ายแรง ต้องอ้างผิดข้อบังคับฯ ,ผิดสัญญาจ้าง, ผิดระเบียบปฏิบัติ,อย่างไร.
- ในกรณี นายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เพราะพิษโควิด-19 ระบาด จึงมีนโยบายไม่จ่ายค่าตำแหน่งงาน, ค่าเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์, ค่าโทรศัพท์ , ค่าอาหาร หรืออื่นๆ ต้องดำเนินการอย่างไร..?
- นายจ้างได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ จึงมีนโยบายลดอัตรากำลังพลลง และยุบสำนักงานตามสาขาต่างๆ หรือ ย้ายพนักงาน เข้าทำงาน ณ สำนักงานใหญ่ กรณีลูกจ้างไม่ย้ายตาม คำสั่งจะได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างไร..?
- นายจ้างมีสิทธิเรียกเพื่อรับเงินประกันการทำงานกับลูกจ้าง มีตำแหน่งงานใดบ้าง..?
- กรณีลูกจ้างแจ้งเอกสารหรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อนายจ้าง, ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อประโยชน์แก่ตนจะมีความผิดอย่างไร..?
- ชอบใช้สถานที่ทำงานแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตน เช่น ขายหวย ,ขายของกิน,ขายของผ่อน ,รับแทงหวย, รับแทงบอล ,ปล่อยเงินกู้ ,ตั้งวงแชร์, เล่นการพนัน,ขายยาเสพติด นายจ้างจะกล่าวโทษ หรือเลิกจ้างต้องเตรียมข้อมูลอย่างไร..?
- มีนิสัยปากจัด, ชอบอยากรู้อยากเห็น, ชอบด่าทอเสียดสี, ชอบโวยวาย ,มักสร้างปัญหา, ชอบเป็นแกนนำในการสร้างปัญหา นายจ้างจะผ่าตัดใหญ่อย่างไร..? ให้เจ้าปัญหาเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ได้
- ลงชื่อเพื่อทำงานล่วงเวลาแล้ว (OT.) เมื่อถึงเวลาไม่ทำโดยไม่แจ้งเหตุผลต่อหัวหน้างานจะลงโทษได้เพียงใด..
- ความผิดที่ผู้บริหาร ,หัวหน้างาน เป็นผู้ลงโทษทางวินัยพนักงาน เป็นความผิดลักษณะใด..?
- ความผิดที่ผู้บริหารงานบุคคล ( HR.) เป็นผู้ลงโทษ ทางวินัยพนักงาน เป็นความผิดลักษณะใด...?
- กรณีนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงาน, ทำข้อตกลงกับลูกจ้าง ที่บังคับใช้ตามกฎหมายไม่ได้ (เป็นโมฆะ) มีกรณีใดบ้าง..?
- กรณีนายจ้างบอกรับลูกจ้างเข้าทำงาน เมื่อถึงวันทำงานแล้วบอกไม่รับ หรือลูกจ้างตกลงทำงานกับนายจ้างแล้ว เมื่อถึงวันทำงานไม่มาทำงาน ประเด็นนี้ นายจ้างหรือลูกจ้างจะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..?
- กรณีนายจ้างได้กำหนดไว้ในข้อบังคับในการทำงาน, กำหนดไว้ในสัญญาจ้างว่า ระหว่างเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง หรือลูกจ้างออกจากงานไปแล้วภายใน 2 ปี ห้ามมิให้ลูกจ้างนำความลับทางการค้าของนายจ้างไปเปิดเผยให้กับบุคคลภายนอก,ห้ามไปทำงานกับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง, ไปเปิดบริษัทแข่งกับนายจ้าง,ไปถือหุ้นกับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนจนเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายทั้งทางตรงหรือทางอ้อม จะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..?
- เมื่อลูกจ้างลาออกจากงานหัวหน้างานและนายจ้างทราบแล้ว แต่ยังไม่อนุมัติการลาออกจะมีผลเมื่อใด.. หรือวันต่อมาลูกจ้างขอยกเลิกหนังสือลาออก ประเด็นนี้ นายจ้าง , ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมาย อย่างไร..?
- กรณีลูกจ้างลาออกจากงาน ปฏิบัติงานไม่ถึง 30 วันตามที่กำหนดไว้ในหนังสือลาออก เมื่อนายจ้างพิสูจน์ได้ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น ลูกจ้างจะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อนายจ้างอย่างไร..? (เพราะออกจากงานไปแล้ว)
- ลูกจ้างทำความเสียหายแล้วออกจากงานไป ประเด็นนี้นายจ้างยึดเงินค่าจ้าง , ค่าล่วงเวลา , ค่าทำงานในวันหยุด , ค่าคอมมิชชั่นและเงินประกันการทำงาน เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ทำได้ไหม..เพราะอะไร..?
- เมื่อลูกจ้างออกจากงาน ,ไม่ผ่านทดลองงาน, สิ้นสุดสัญญาจ้าง ,ถูกเลิกจ้าง ,นายจ้างปลดออก ,นายจ้างไล่ออก เมื่อลูกจ้างร้องขอให้นายจ้างออกหนังสือรับรองการผ่านงาน กรณีนายจ้างไม่ออกให้จะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..?
- กรณีลูกจ้างลาออก, นายจ้างเลิกจ้าง ,นายจ้างปลดออก ,นายจ้างไล่ออก , ต้องจ่ายค่าจ้าง ,ค่าล่วงเวลา ,ค่าทำงานในวันหยุดและเงินประกันการทำงานเมื่อใด.. เพราะการจ่ายช้าเกินกำหนดจะมีผลต่อการจ่ายค่าดอกเบี้ย และจ่ายเงินเพิ่มทุกๆ 7 วัน
- นายจ้างได้ออกระเบียบปฏิบัติ เพื่อกำหนดให้ลูกจ้างลาพักผ่อนประจำปีและลากิจได้รับค่าจ้าง ภายในปีให้ลูกจ้างลาให้หมดบริษัทฯจะไม่อนุญาตสะสมไปใช้ในปีถัดไป เมื่อลูกจ้างลาไม่หมด นายจ้างจะไม่จ่ายเป็นเงินให้ ทำได้ไหม..เพราะอะไร..?
- กรณีลูกจ้างออกจากงาน เช่น ลูกจ้างลาออก ,ทำผิดวินัยถูกไล่ออก ,นายจ้างเลิกจ้างโดยได้รับค่าชดเชย ,วันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือวันหยุดพักผ่อนสะสม ลูกจ้างจะได้รับสิทธิอย่างไร..?
- กรณีลูกจ้างออกจากงาน เช่นไม่ผ่านทดลองงาน, สิ้นสุดสัญญาจ้าง, ลูกจ้างลาออก, นายจ้างปลดออก, นายจ้างไล่ออก, นายจ้างเลิกจ้างโดยได้รับค่าชดเชย หรือ ลูกจ้างเกษียณงานก่อนกำหนด จะได้รับสิทธิการว่างงานจากประกันสังคมอย่างไร..?
สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท: | SeminarDD Academy |
ชื่อผู้ประสานงาน: | ผู้จัดงาน |
เบอร์โทรศัพท์ : | 097-474-6644 |
หากท่านต้องการสมัคร หลักสูตร เทคนิคการออกระเบียบปฏิบัติและการพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัย
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training