การวางแผนและควบคุมการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Purchasing Spare Parts Maintenance Planning and Control)
รหัสหลักสูตร: 66669
-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
การควบคุมอะไหล่หรือ Spare Parts Control ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้เหตุการณ์เครื่องจักรเสียที่รู้สาเหตุและวิธีแก้ไขต้องล้าช้าออกไปเนื่องจากไม่มีอะไหล่ที่จะนำมาใช้ได้ทันที เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่มาจากการควบคุมอะไหล่ที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่งผลให้เกิด Downtime ของเครื่องจักรสูงขึ้น และมีค่า OEE (Overall Equipment Effectiveness) ต่ำโดยไม่จำเป็น และส่งผลให้กระบวนการผลิตและจัดส่งสินค้าไม่ทันเวลาตามที่ลูกค้ากำหนดได้ รวมถึงการวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรแบบปกป้อง (Preventive Maintenance) และแบบเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) ไม่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงต้นทุนการบำรุงรักษาเครื่องจักรและกระบวนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากเกิดเวลาความสูญเสีย (Losses time) ของเครื่องจักรที่มากขึ้นอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานและความน่าเชื่อถือ (Efficiency and Reliability) ของเครื่องจักรอุปกรณ์ ผ่านกระบวนการ จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดเก็บ ที่มีประสิทธิภาพ
2. สร้างความมั่นใจให้กับงาน Breakdown Maintenance และงาน Preventive Maintenance ว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องการใช้อะไหล่เพื่อการซ่อม หรือเพื่อการบำรุงรักษา ต้องหาได้ในทันทีหรือใช้เวลาน้อยที่สุด
3. ลดจำนวนอะไหล่คงคลังหรือ Spare Parts Inventory ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนจม เพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ และเพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บ
4. เพิ่มการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และตอบสนองการเปลี่ยนแปลงแบบ Digital Transformation
สอนสดออนไลน์ผ่านทาง Zoom
1. การจำแนกประเภทของวัสดุหรืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษา
- อะไหล่หรืออุปกรณ์สาหรับความต้องการฉุกเฉินหรือฉับพลัน หรือ Breakdown Spare Parts
- อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่ต้องสารองไว้ตลอดเวลาในสต๊อก หรือ Reservation Spare Parts
- อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่สามารถนามาใช้ซ้ำได้
- เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษา (Maintenance Tools)
2. วิธีการสั่งซื้ออะไหล่
- การสั่งซื้อเฉพาะรายการตามเวลาที่ต้องการใช้ (Individual Order)
- การสั่งซื้อเป็นงวดตามปกติ (Permanent Stock Method)
- การสั่งซื้อแบบสัญญาพิเศษกับผู้ขาย (Special Contract Method)
3. การจำแนกประเภทของวัสดุหรืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษา
4. ความหมายของค่า OEE และ Loss time ของเครื่องจักร
5. ขั้นตอนการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การวางแผนการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
7. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดค่า Stock levels
- ปัจจัยที่ฝ่ายจัดซื้อต้องคำนึงถึงในการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่ควรมีในคลังสินค้า
- การกำหนดปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity)
- การคำนวณหาจุด Re-order Point
- การคำนวณหาปริมาณ Safety Stock หรือปริมาณสินค้าคงคลังเพื่อความปลอดภัย
8. การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ MRP (Material Requirement Planning)
9. สูตรการผลิต (Bill of Material: BOM) และ MRP (Material Requirement Planning)
10. การใช้ระบบ MRP (Material Requirement Planning) Module ในระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
วิธีการสัมมนา
- การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ ให้คำปรึกษา และร่วมอภิปราย
สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท: | SeminarDD Academy |
ชื่อผู้ประสานงาน: | ผู้จัดงาน |
เบอร์โทรศัพท์ : | 097-474-6644 |
หากท่านต้องการสมัคร การวางแผนและควบคุมการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Purchasing Spare Parts Maintenance Planning and Control)
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
เข้าฟังสัมมนาผ่านแพลตฟอร์ม Zoom
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training