หลักสูตรอบรม การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้ถูกกฎหมายภายใต้ MOU

รหัสหลักสูตร: 53039

จำนวนคนดู 1870 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความสามารถนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ให้กับองค์กรได้อย่างถูกกฎหมาย หรือกรณีมีลูกจ้างมาสมัครงานเองก็จะสามารถเข้าตรวจสอบเอกสาร หรือนำแรงงานไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้

2.เพื่อให้ทราบถึงการดำรงรักษาแรงงานที่ดี ให้อยู่กับองค์กรได้อย่างถูกกฎหมายได้นานๆ หรือนำกฎหมายแรงงานไปใช้บังคับกับพนักงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

3.เพื่อให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในองค์กรและนอกองค์กรให้ปัญหานั้นยุติลงได้


หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการบรรยาย

1.ประกาศ / ระเบียบ / คำสั่ง นายจ้างต้องปฏิบัติตามอย่างไร?

2.ปัญหาที่ทำให้เกิดการจ้างแรงงานต่างด้าวมาจากอะไร?

3.การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยผ่านบริษัทฯ จัดหางาน ต้องดำเนินการอย่างไร?

4.นายจ้างติดต่อแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับองค์กรเอง ทำได้หรือไม่?

5.นายจ้างมีแรงงานต่างด้าวอยู่แล้ว แต่ต้องการจ้างให้ถูกกฎหมาย ต้องตรวจสอบเอกสารอย่างไร?

6.นายจ้างรับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้างจะมีโทษอย่างไรและลูกจ้างจะมีโทษอย่างไร?

7.แรงงานต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีโทษอย่างไร?

8.การจ้างแรงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU ต้องปฏิบัติอย่างไร?

9.การต่อวีซ่าหรือพาสปอร์ต ของแรงงานต่างด้าว ต้องทำอย่างไร?

10.แรงงานต่างด้าวต้องรายตัวต่อนายทะเบียน (ขณะทำงานกับนายจ้าง) อย่างไร?

11.การเลิกจ้างแรงงานต่างด้าวในกรณีต่างๆ ต้องดำเนินการอย่างไร?

12.นายจ้างต้องแจ้งต่อนายทะเบียน การเข้า – ออก ของลูกจ้างต่างด้าวอย่างไร?

13.ข้อดีของการจ้างแรงงานต่างด้าว / ข้อเสียของการจ้างแรงงานต่างด้าว คืออะไร?

14.การจ้างแรงงานมีหลายประเภท มีอะไรบ้าง?

15.โทษทางวินัย มีกี่สถาน

16.การกล่าวโทษใบเตือน จะต้องมีผลต่อการซ้ำคำเตือนอย่างไร?

17.จะพิจารณาโทษให้เป็นใบเตือน ให้กับพนักงานหรือเลิกจ้างพิจารณาจากอะไร?

18.การบอกเลิกจ้างด้วยวาจาหรือทางโทรศัพท์ นายจ้างทำได้หรือไม่?

19.การออกหนังสือเลิกจ้าง ข้อความที่ระบุไว้ของเหตุเลิกจ้าง ถ้าไม่ระบุชัดเจนจะมีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีในชั้นศาลอย่างไร?

20.เมื่อเกิดปัญหามีข้อพิพาทแรงงงานเกิดขึ้นในองค์กร ผู้บริหารงานบุคคลจะใช้เทคนิคเข้าไปไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้ปัญหานั้นยุติลงได้อย่างไร?

21.การเลิกจ้างพนักงานรายวัน – รายเดือน หรือลูกจ้างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวอย่างไร?

22.เมื่อเลิกจ้างพนักงาน สิ่งที่นายจ้างจะต้องเข้าไปตรวจสอบ หรือสิทธิต่างๆ ของลูกจ้างที่จะได้รับมี 10 ประการ อะไรบ้าง?

23.การกระทำอันไม่เป็นธรรม คือการปฏิบัติอย่างไร?

24.การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คือการปฏิบัติอย่างไร?

25.เมื่อลูกจ้างลาออกจากงานไปแล้วไปฟ้องศาลแรงงาน ผู้บริหารงานบุคคลเห็นหมายเรียกของศาลแล้ว จะต้องแจ้งต่อนายจ้าง และดำเนินการอย่างไร?

26.เมื่อคู่ความขาดนัดไม่ไปศาล ตามวัน – เวลา ที่ศาลกำหนดจะเกิดปัญหาอะไร?

27.เมื่อผู้ประนอมคดี ไกล่เกลี่ยคู้ความจะนำเสนอหลักการและเหตุผลของการเลิกจ้าง หรือไม่เปิดช่องทางให้ผู้ประนอมได้ไกล่เกลี่ยคดี เพื่อให้ตกลงกันได้อย่างไร?

28.ระหว่างสืบพยานโจทก์ – จำเลย ต้องนำพยานเอกสาร – พยานบุคคล เข้าเสนอศาล เพื่อให้ศาลพิจารณาและตัดสินคดีอย่างไร?

29.ให้ระหว่างสืบพยานโจทก์ – จำเลย ต้องนำเอกสาร – พยานบุคคลเข้าเสนอ เพื่อให้ศาลพิจารณา และตัดสินคดีอย่างไร?

30.เมื่อคู่ความประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล จะยื่นอุทธรณ์ภายในกี่วัน และอุทธรณ์ให้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย อย่างไร?

31.คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ตัดสินคดี แรงงานซึ่งผู้บริหารงานบุคคลควรรู้ มีอะไรบ้าง?


15 มิถุนายน 2561

09.00 – 16.00 น.


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: หลักสูตรอบรม, การนำแรงงาน, ต่างด้าว, เข้ามา, ทำงาน, กฎหมาย MOU

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด