โครงการเสริมสร้างเครือข่าย SMEs Consortium สู่ตลาดอาเซียน (กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่อง)

รหัสหลักสูตร: 2824

จำนวนคนดู 1979 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักการและเหตุผล

กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่อง มีความเชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่มูลค่าที่สำคัญของประเทศ  เริ่มจากอุตสาหกรรมต้นน้ำ ตั้งแต่การออกแบบก่อสร้าง สถาปนิก การพัฒนาและเตรียมสถานที่ ผู้ผลิตและผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนผู้ให้เช่าอุปกรณ์เครื่องจักร

ส่วนกลางน้ำ จะเกี่ยวข้องในธุรกิจการก่อสร้าง งานวิศวกรรม งานติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ติดตั้งอุปกรณ์สาธารณูปโภคสุขภัณฑ์ งานตกแต่งทาสีภายนอก ภายในงานไม้ งานพื้น ตลอดจนงานซ่อมแซม  ซึ่งในส่วนของกลางน้ำจะมีกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่นกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

ส่วนของปลายน้ำ กลุ่มพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างและตกแต่ง โครงการก่อสร้างของภาครัฐ ซึ่งในสายโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมก่อสร้างมักมีความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง นอกจากจะเป็นผู้จัดหาวัสดุก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว ยังเป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้รับเหมา และเป็นคลังเก็บวัสดุก่อสร้างให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย หรือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะเป็นผู้ว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว ยังเป็นผู้ที่จัดซื้อวัสดุก่อสร้างให้แก่ผู้รับเหมา หรือเป็นผู้ค้ำประกันค่าวัสดุก่อสร้างกับร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ให้แก่ ผู้รับเหมา เป็นต้น

ปัจจุบันผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่องของไทย มี

ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศพอสมควร สามารถชนะการประกวดราคาระดับนานาชาติของโครงการต่างๆ ทั้งโครงการก่อสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย และสาธารณูปโภคอื่นๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เช่นเดียวกับ กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจต่อเนื่อง เช่น บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา สถาปนิก ธุรกิจออกแบบ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพที่จะขยายตลาดไปยังต่างประเทศได้ พร้อมๆ กับอุตสาหกรรมก่อสร้าง

อย่างไรก็ตาม การเข้าไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ยังขาดความเชื่อมโยงและการพัฒนาร่วมกันอย่างเป็นระบบ

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมตัวและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ในระยะแรกจะดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลของผู้ประกอบการการอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่อง และการสร้างกลไกพัฒนาผู้ประกอบการและพัฒนาช่างต่างๆ  ตลอดจนการพัฒนาเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข็มแข็ง ซึ่งอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยยังต้องมีการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานของตนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เกิดการพัฒนาเป็นคลัสเตอร์ที่เข้มแข็งจนสามารถเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ในภูมิภาค มีความร่วมมือกันผลักดันให้เกิดการยอมรับในองค์ความรู้ (Know how) โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ใน

การก่อสร้าง การนำแนวคิดด้านการบริหารงานก่อสร้างแบบลีน (Lean) มาประยุกต์ใช้  ตลอดจนคำนึงถึงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้าง ทั้งความปลอดภัยกับแรงงานก่อสร้างที่ปฏิบัติงาน และความปลอดภัยกับผู้คนรอบข้าง เพื่อสร้างเป็นบรรทัดฐานในการก่อสร้างที่ดีขึ้นให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มตลอด Value chain ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์เป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรมและร่วมมือกันในการขยายธุรกิจในตลาดทั้งในและประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่อง ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและ
ปลายน้ำ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร   การเชื่อมโยงข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการในเครือข่าย และใช้เป็นฐานในการวางแผนงาน และนโยบายของภาครัฐ
2 เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่องในด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การบริหารจัดการงานก่อสร้างสมัยใหม่ การเชื่อมโยงข้อมูล ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ในสายโซ่อุปทานในลักษณะของพันธมิตรระยะยาว
3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดเครือข่ายหุ้นส่วนผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่อง
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Seminar, สัมมนา, ของฟรี, Best Forecasting and Inventory Replenishment, ศักยภาพในการทำธุรกิจในอินเดีย, ข้อควรทราบในการเจาะตลาดอินเดีย, โอกาส และข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการไทย ในการส่งออกไปอินเดีย, กลยุทธ์การเจาะตลาด และศักยภาพของตลาดรองเท้าในอินเดีย

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร เทคนิคการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Material Requ...

MRP (Material Requirements Planning) คือ แผนหรือตารางความต้องการวัตถุดิบ (Items) ในแต่ละวันของการผลิต และตามสูตรการผลิต (Bill of Material: BOM) ของสินค้าหนึ่ง ๆ ดังนั้น MRP จึงขึ้นอยู่กับความต้องการวัตถุดิบจากสูตรการผลิตและตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ

หลักสูตร เจาะลึกการนำเข้า 2024 (Deep Import 2024)

ขอเชิญอบรม หลักสูตร เจาะลึกการนำเข้า 2024 (Deep Import 2024) #การนำเข้า ก็คือ การทำพิธีการศุลกากร ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบของกรมศุลกากรอย่างเคร่งครัด และการดำเนินนั้นมีขั้นตอนที่มีรายละเอียดมาก จนต้องมีผู้มาดำเนินการแทนผู้นำเข้า