หลักสูตร จิตสำนึกแห่งคุณภาพเพื่อการสร้างองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ( Quality Awareness for Organization Sustainable Growth )

รหัสหลักสูตร: 66240

จำนวนคนดู 2446 ครั้ง
สอนสดออนไลน์
จิตสำนึกแห่งคุณภาพเพื่อการสร้างองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ( Quality Awareness for Organization Sustainable Growth )
รอบที่

-

ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้

ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่

หลักการและเหตุผล

     ในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ เชื่อกันว่า “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นกุญแจไขสู่ความสำเร็จขององค์กร ซึ่งหากองค์กรใดมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ คุณภาพ และจริยธรรมที่สูง ก็คงก้าวเข้าไปแข่งขันในโลกไร้พรมแดน (Globalization) ได้อย่างไม่ยากเย็นนักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร จึงไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการสรรหา และคัดเลือกบุคคลให้เข้ามาทำงาน ตลอดจนมีการสลับสับเปลี่ยน โอนย้าย เลื่อนขั้นตำแหน่งบุคคลเหล่านั้น ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถของเขา ดังคำที่ว่า จัดคนให้เหมาะสมกับงาน (“Put the right man in the right job”) เท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ  เป็นผู้ที่มีความสามารถพัฒนาตนเอง  พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้ารองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และกระแสการค้าโลกได้อย่างทันท่วงที การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับการพัฒนาความมั่งคงขององค์กรในอนาคต (จุฑามณี  ตระกูลมุทุตา, 2544)  พฤติกรรมหรือคำพูดของพนักงานแต่ละคนที่แสดงออกมา เกิดจากกรอบความคิด(Mindset) ที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ซึ่งกรอบความคิดมาจาก ความเชื่อ ค่านิยม ประสบการณ์ ที่สะสมมาจากอดีตของแต่ละบุคคล ดังนั้น การพัฒนาพนักงานโดยให้ความรู้ หรือเทคนิคต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืน ถ้าพนักงานยังคงใช้กรอบความคิดแบบเดิม

     พนักงานที่มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพสามารถสังเกตได้จากคำพูด หรือพฤติกรรมที่เขาแสดงออกต่อเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะสภาวะที่เป็นเชิงลบเช่น สถานการณ์เร่งรีบ , มีข้อจำกัดต่างๆในการทำงาน แต่พนักงานคนนั้นๆยังคงปฏิบัติงานโดยยึดถือเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ ดังนั้นการพัฒนาพนักงานให้มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพ ควรค้นหาว่าสถานการณ์หรือสภาวะใดที่พนักงานละเลย การใช้จิตสำนึกแห่งคุณภาพกับงานที่กำลังรับผิดชอบอยู่ แล้วช่วยให้เขามองเห็นหลุมพรางหรือความคิดเชิงลบที่มีต่อสถานการณ์ เพื่อให้เขาปรับเปลี่ยนความคิดใหม่เพื่อหยิบความรู้หรือทักษะที่มีอยู่ ออกมาใช้ในการปฏิบัติงานตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้

     การสร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพต้องทำให้เขาเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่รับผิดชอบ โดยมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ต่างๆ ที่เขขาและผู้อื่นจะได้รับจากงานนี้ ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่องานและมุ่งมั่นที่จะให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด การแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า และบริการมากกว่าโปรโมชั่นการขายหรือการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากเป็นส่วนที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าที่จะกลับมาซื้อ – ใช้บริการซ้ำ หรือเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งขันแทน ซึ่งการพัฒนาบุคลากรให้มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพในการทำงานมีต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำกว่ากลยุทธ์อื่น และยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต่อองค์กรอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

   1. เพื่อให้ผู้เรียนได้แนวทาง, หลักการและความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการในการทำงาน

   2. เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องต่างๆ

   3. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำคัญของคุณภาพในงาน องค์ประกอบ และผลกระทบจากการทำงานด้วย จิตสำนึกแห่งคุณภาพ

   4. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการของเครื่องมือบริหารคุณภาพและนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที

   5. เพื่อให้ผู้เรียนมีกรอบความคิดแบบเจ้าของงาน(Ownership Mindset) และเกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement Process)

   6. เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเองชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพและนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติได้อย่างมั่นใจ

สอนสดออนไลน์ผ่านทาง Zoom

หัวข้ออบรมสัมมนา

หัวข้ออบรม

   PART 1 : แนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง

                      - โลกยุคใหม่กับการปรับตัวของมนุษย์

                      - Work lıfe Balance

                      - นิยามคำว่า ”คุณภาพ” ในความหมายของคุณ

                      - คุณให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพในการทำงานมากแค่ไหน

                      - คุณจะทำอย่างไรบ้างเพื่อให้งานมีคุณภาพตามข้อกำหนดหรือมาตรฐาน

                      - Workshop: ประเมินระดับจิตสำนึกแห่งคุณภาพของตัวเอง

   PART 2 : การสร้างจิตสำนึกแห่งการรักองค์กร

                      - การวิเคราะห์เพื่อการเข้าใจตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กร

                      - เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจขององค์กร

                      - ความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง

                      - ความคาดหวังของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง

                      - จิตสำนึกของคนทำงานและจิตสำนึกรักองค์กร

                      - หลุมพรางทางความคิดเชิงลบของการทำงานอย่างมีคุณภาพ

                      - Workshop: สาเหตุของความคิดเชิงลบในการทำงานที่ละเลยคำว่า” คุณภาพ”

                      - ปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ต่อการทำงานใหม่ของตัวเอง

                      - ค่านิยมส่วนบุคคล (Personal Value) ก่อให้เกิดคุณภาพในงาน

                      - การสร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพให้กลายเป็นพฤติกรรมใหม่

                      - Workshop : การปรับเปลี่ยนแนวความคิดต่อการทำงานอย่างมีคุณภาพ

    PART 3 : คุณภาพสำคัญต่อพนักงานและองค์กรอย่างไร

                      - ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อคุณภาพของงาน

                      - ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบด้านต่างๆจากการมีและขาดจิตสำนึกแห่งคุณภาพของพนักงาน

                            * ผลกระทบด้านตัวพนักงาน

                            * ผลกระทบด้านองค์กร

                            * ผลกระทบด้านลูกค้าทั้งภายในและภายนอก

                      - กรณีศึกษา : การปรับเปลี่ยนความคิดกับสถานการณ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกแห่งคุณภาพในการทำงาน

   PART 4 : พัฒนาทักษะการทำงานเพื่อเพิ่มคุณภาพ

                      - การเข้าใจตัวเองและการจัดการอารมณ์

                      - การบริหารจัดการเวลาเพื่อคุณภาพของงาน

                      - การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธ์ต่อผู้เกี่ยวข้องในงาน

                      - ความหมายของความผูกพันกับองค์กร

                      - รูปแบบของความผูกพันกับองค์กร

                      - ปัจจัยบวกและลบ ที่ส่งผลต่อความผูกพัน

                      - ลักษณะของงานที่สร้างความผูกพันให้เกิดขึ้น

                      - ทักษะการใช้เครื่องมือบริหารคุณภาพในงาน

                      - Workshop : น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

   PART 5: การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อองค์เติบโตอย่างยั่งยืน

                      - แนวความคิดในการทำงานเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มจิตสำนึกแห่งคุณภาพ

                      - ประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

                      - Continuous Improvement Process เพื่อเพิ่มคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

                      - สร้างจิตสำนึกรักองค์กรด้วยคำถามสร้างพลัง

                      - สร้างทัศนคติเชิงบวกต่อองค์กรและงานที่รับผิดชอบ

                      - Workshop: เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของตัวเอง
วิทยากร
คุณสมบัติผู้เข้าฟัง/กลุ่มเป้าหมาย

•    พนักงานทั่วไป

•    ผู้บริหาร

ภาษาในการบรรยาย
ไทย
ประกาศนียบัตร
สัมมนานี้ไม่ได้รับประกาศนียบัตร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อย่าลืมบอกผู้จัดงานว่าเห็นประกาศจากเวป "สัมมนาดีดี" นะคะ
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท:SeminarDD Academy
ชื่อผู้ประสานงาน:ผู้จัดงาน
เบอร์โทรศัพท์ :097-474-6644
สอนสดออนไลน์

หากท่านต้องการสมัคร จิตสำนึกแห่งคุณภาพเพื่อการสร้างองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ( Quality Awareness for Organization Sustainable Growth )
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้


เข้าฟังสัมมนาผ่านแพลตฟอร์ม Zoom

ค่าฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ 200%
ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training

คำค้นประกาศนี้ Tags: จิตสำนึกแห่งคุณภาพเพื่อการสร้างองค์กร, Quality Awareness for Organization Sustainable Gro

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร เทคนิคการเช็คสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficient Stock & Inventory Con...

การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก โดยใช้สำหรับแสดงปริมาณและชนิดของสินค้าคงคลังว่ามีมากน้อยเพียงใดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และเพื่อสามารถติดตาม ควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้มีประมาณสินค้าคงคลังไม่มากจนกลายเป็นต้นทุนที่จมอยู่ในคลังสินค้าแล

หลักสูตร นักจัดซื้อยุคใหม่... เพื่อความสำเร็จขององค์กร

คาดหวังให้นักจัดซื้อ ต้องสามารถรองรับรูปแบบการธุรกิจใหม่ๆให้ได้ด้วย เช่น e-commerce ธุรกิจในปัจจุบันนี้ ต้องการ ความรวดเร็ว (Speed) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และต้นทุนที่ต่ำ (Cost Deduction) ดังนั้น นักจัดซื้อสมัยใหม่จะต้องมีแนวคิดในเรื่อง Logisti

หลักสูตร การบริหารจัดการคลังสินค้าและลดต้นทุนสินค้าคงคลังด้วยหลักการไคเซ็น (Ware...

การจัดการคลังสินค้าและการควบคุมสินค้าคงคลังจึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถป้อนวัตถุดิบให้กับสายการผลิตได้อย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทันตามเป้าหมายที่กำหนด

หลักสูตร เทคนิคการเช็คสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficient Stock & Inventory Con...

การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก โดยใช้สำหรับแสดงปริมาณและชนิดของสินค้าคงคลังว่ามีมากน้อยเพียงใดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และเพื่อสามารถติดตาม ควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้มีประมาณสินค้าคงคลังไม่มากจนกลายเป็นต้นทุนที่จมอยู่ในคลังสินค้าแล