รู้เขา รู้เรา : สร้างโอกาส...เจาะตลาดอาเซียน

รหัสหลักสูตร: 7158

จำนวนคนดู 1625 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
รู้เขา รู้เรา : สร้างโอกาส...เจาะตลาดอาเซียนศูนย์วิจัยกสิกรไทยกรกฎาคม 2554การเปิดเสรีด้านการค้าและภาคบริการของอาเซียนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมานั้น นับเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการก้าวสู่การเป็น “ประชาเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community:AEC)” ที่เป็นการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค แม้จะยังไม่เต็มรูปแบบเหมือนกับการรวมกลุ่มของประเทศในสหภาพยุโรปที่มีการใช้เงินสกุลเดียว กัน แต่การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของอาเซียนที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การนำอาเซียนไปสู่การ เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน(Single Market and Production Base)ภายในปี 2558 ซึ่งจะมีความเสรีในการเคลื่อนย้ายด้านสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และรวมทั้ง การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากยิ่งขึ้นภายในภูมิภาคอาเซียน หรือกล่าวได้ว่าประเทศสมาชิกจะสามารถเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี สามารถผลิตที่ไหนก็ได้ ใช้ทรัพยากรการ ผลิตทั้งวัตถุดิบและแรงงานร่วมกันได้ โดยมีมาตรฐานสินค้า และกฎระเบียบเดียวกัน นอกจากนี้ ภายในปี 2558 นี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศจะต้องลดภาษีการนำเข้าสินค้า ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ที่มีการดำเนินการทางการค้ากันให้เหลือร้อยละ 0-5 ขจัดมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีต่างๆ และในส่วนของการถือหุ้นของนักลงทุนสัญชาติอา เซียนในธุรกิจภาคบริการนั้น ตามกรอบฯนี้ยังได้ตั้งเป้าหมายให้สามารถเข้ามาถือหุ้นได้สูงสุดถึงร้อยละ 70 ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs จำเป็นต้องเร่งศึกษาและ แสวงหาลู่ทางบุกตลาดอาเซียน ซึ่งไม่เพียงจะมีความใกล้ชิดกับไทยในเชิงภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ไทยยังมีโอกาสสูงในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการใช้สิทธิประโยชน์ ภายใต้ความร่วมมือเขตการค้าเสรีที่มีอยู่ด้วย• การลดภาษี & ขจัดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีการเปิดเสรีการค้าอาเซียนในช่วงที่ผ่านมา นับว่ามีบทบาทสำคัญที่เอื้อให้การส่งออกสินค้าของ SMEs ไทยไปอาเซียนเพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันตลาดอาเซียนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของ SMEs ไทย ด้วยมูลค่าส่งออกกว่า 4 แสนล้านบาท หรือสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของการส่งออกทั้งหมดของ SMEs ไทย ในปี 2553 ทั้งนี้ พันธกรณีด้านการเปิดเสรีการค้าเพื่อ ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นั้นประกอบด้วย การลดภาษีระหว่างสมาชิกให้หมดไป และการขจัดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีระหว่างกัน- มาตรการด้านภาษี เป็นการยกเลิกภาษีสินค้านำเข้าระหว่างประเทศอาเซียนภายใต้ระบบ ATIGA (ASEAN Trade in Good Agreement)1 ตามข้อตกลงของกรอบความ ร่วมมือเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน(ASEAN Free Trade Area) ที่มีข้อกำหนดดังนี้1. การขจัดอุปสรรคทางภาษี อาเซียนได้ทยอยปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันมาตั้งแต่ปี 2536 ในส่วนของสินค้าบัญชี Inclusion List (IL) จนกระทั่งเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 (ยกเว้น ประเทศอาเซียนใหม่ 4 ประเทศคือ สปป.ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ที่จะลดเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2558)2. นอกจากสินค้าในบัญชี IL แล้ว ยังมีการกำหนดเวลาการลดภาษีสำหรับบัญชีอ่อนไหว (Sensitive List: SL) และบัญชีอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List: HSL) ซึ่งมีกำหนดเวลา การลดภาษีที่แตกต่างกันไป ส่วนบัญชียกเว้นทั่วไป (General Exclusion List: GE) เป็นสินค้าที่แต่ละประเทศไม่สามารถนำมาลดภาษีได้ เช่นกลุ่มอาวุธยุทโธปกรณ์ และเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์สำหรับประเทศมุสลิม เป็นต้น (ขณะนี้มีเพียงไทยและสิงคโปร์เท่านั้นที่ไม่มี GE)- การขจัดมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี(Non Tariff Barriers :NTBs) อาทิ การยกเลิกระบบโควตา และเงื่อนไขมาตรฐานสินค้าที่ไม่จำเป็น เป็นต้น โดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5(บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย)จะต้องยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีทั้งหมดภายในปี 2553 และภายในปี 2555 สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนกลุ่ม ประเทศ CLMV ต้องภายในปี 2558 โดยมีความยืดหยุ่นได้ถึงปี 2561• สินค้าที่ไทยน่าจะมีโอกาส... สินค้าที่ไทยต้องเร่งปรับตัวจากข้อตกลงเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนทั้งนี้ รายการสินค้าที่ทำการลดภาษีศุลกากรและลดมาตรการกีดกันทางการค้าลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนรวมกันเป็นจำนวนหลายหมื่นรายการ โดยในกรณีของประเทศไทยมี การลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้ากว่า 8,300 รายการ ซึ่งหากแบ่งอุตสาหกรรมตามความสามารถในการแข่งขันและความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรีอาเซียน อาจจะประกอบด้วย 4 กลุ่มดังนี้1.อุตสาหกรรมที่สามารถแข่งขันและส่งออกได้มากขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เซรามิก พลาสติก และเคมีภัณฑ์บางประเภท ซึ่งไทยสามารถผลิตเป็นสินค้า ส่งออกที่ผ่านการควบคุมและรับรองคุณภาพ ส่วนจุดอ่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมกลุ่มนี้คือ ค่าแรงงานของไทยที่สูงกว่าประเทศอื่น แต่ยังได้เปรียบตรงที่เป็นแรงงานฝีมือดี รวมไปถึง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ปูนซีเมนต์ ในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม)2.อุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกัน ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มสินค้าที่แข่งขันกันทางด้านราคามากกว่าคุณภาพ ได้แก่น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ น้ำมันพืช(ในกลุ่ม CLMV) และปลากระป๋อง (ในตลาด CLM) เป็นต้น3.อุตสาหกรรมที่ยังไม่สามารถแข่งขันได้ดีพอ บางชนิดอาจต้องนำเข้ามากขึ้น ได้แก่ น้ำมันปาล์ม เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภท อย่างไรก็ตาม การลดอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบต้นน้ำของอุตสาหกรรมกลุ่มนี้อาจจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้มากขึ้น4.อุตสาหกรรมที่มีระดับอัตราอากรต่ำอยู่ก่อนแล้ว จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า AFTA โดยตรง ซึ่งการแข่งขันในสินค้ากลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการปรับลดอากรขาเข้าวัตถุดิบ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และขั้นตอนการผลิตในประเทศที่ครบวงจรมากที่สุด โดยสินค้าในกลุ่มนี้ได้แก่4.1 กลุ่มสินค้าที่มีราคาและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำหรือไม่มีผลิตในอาเซียน เช่นกระดาษและเยื่อกระดาษ4.2 กลุ่มสินค้าที่ผลิตไม่ได้ในประเทศที่น่าจะได้รับผลดีจากการลดอากรขาเข้า แต่ก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเกิดใหม่หรือการลงทุนผลิตสินค้ากลุ่มดังกล่าวในประเทศไทยขึ้นมาแข่งขันในภายหลัง เช่นปุ๋ย เหล็ก และอลูมิเนียม เป็นต้น หรืออาจเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่ไม่มีผลิตในอาเซียน เพราะต้องมีการลงทุนที่สูงมาก ซึ่งหากจะใช้สิทธิประโยชน์ใน AFTA ได้ ก็จะต้องมีการนำเข้ามาผลิตแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกมากกว่า 1 ขั้นตอน เช่น อลูมิเนียมที่ต้องนำเข้าจากบาห์เรนมาเป็นก้อนแล้วรีดให้เป็นแผ่น จากนั้นก็นำไปประกอบเป็นชิ้นส่วน หรือนำไปทำเป็นกรอบหน้าต่าง ซึ่งมูลค่าที่เพิ่มขึ้นและสัดส่วนในประเทศจะมีมากพอที่จะทำให้ได้ถิ่นกำเนิดและได้ใช้สิทธิประโยชน์ด้านการลดภาษีภายใต้กรอบความตกลงนี้• การเตรียมพร้อม & ปรับกลยุทธ์...รองรับการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 นับเป็นประเด็นท้าทายต่อธุรกิจ SMEs ไทยพอสมควร เนื่องจากประเทศอาเซียนจะเป็นเสมือนตลาดและฐานการ ผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างกันโดยเสรีในปีดังกล่าว ทำให้ธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจไทย และยังมีข้อจำกัด ในด้านเงินทุนและเทคโนโลยีการผลิต ต้องเร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่กำลังคืบเข้ามาใกล้ ดังนั้น ธุรกิจ SMEs จึงควรศึกษาและเข้าใจถึงการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมในธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลงได้ทันกาล โดยอาจเริ่มพิจารณาและวิเคราะห์ธุรกิจของตนเพื่อดึงจุดแข็ง-จุดอ่อนของตนมา พัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาศักยภาพของธุรกิจ นอกจากนี้ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนก็น่าจะเป็นการ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ทั้งความต้องการที่แท้จริงของตลาดและความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง ขณะเดียวกันก็ควรใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ของอาเซียน ด้วยการบริหารต้นทุนวัตถุดิบในห่วงโซ่ธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเอื้อโอกาสการขยายธุรกิจในอนาคต เป็นต้น--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------1 เป็นข้อตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนที่เป็นการพัฒนามาจากข้อตกลง CEPT(Common Effective Preferential Tariff) และได้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2553 เป็นต้นมา ซึ่งข้อตกลง ATIGA ไม่ใช่มีเพียงข้อตกลงการลดภาษีสินค้าเท่านั้น(กำหนดให้สินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%) แต่ได้เพิ่มรายละเอียด ในการลดอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ ลงไปด้วย เพื่อให้การค้าสินค้าในอาเซียนมีความคล่องตัวมากขึ้น ดังนั้น ในการส่งออกสินค้าไปอาเซียนจากนี้ไป หากต้องการใช้สิทธิพิเศษในการ ส่งออก จะต้องมาขอ ATIGA Form D กับกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: thaitrade.com ให้ได้ผลต้องเตรียมตัวอย่างไร?”, การขายสินค้าในตลาด World Class B 2 B E-Marketplace, ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์ มีเคล็ดลับอย่างไร?, สัมมนาเรื่อง "การลากขึ้นรูปทรงกระบอกและทรงสี่เหลี่ยม", Drawing of Cylindrical shells and Rectan

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด