กลยุทธ์ในการรับมือกับคำพิพากษาของศาลฎีกาตามมาตรา 11/1 ได้ตัดสินคดี เกี่ยวกับการจ้างเหมาค่าแรง ที่ได้อ่านหน้าบัลลังก์ครั้งแรก

รหัสหลักสูตร: 21957

จำนวนคนดู 3317 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
      สืบเนื่องมาจากศาลแรงงานกลาง (มีนบุรี) ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 22326-22404/ 2555 ที่ได้ตัดสินคดีตามมาตรา 11/1 เกี่ยวกับการจ้างเหมาค่าแรงนั้น บัดนี้ ได้ข้อยุติเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา โดยผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง ได้บันทึกเพิ่มเติมว่า แม้คู่ความฝ่ายใด คนใด ไม่มาฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา ก็ถือว่า ทุกฝ่ายได้รับทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว
    ในเรื่องนี้นั้น ปรากฏว่า ผู้บริหารกิจการต่างๆ โรงงานต่างๆ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และ ฝ่ายกฎหมายในกิจการต่างๆ ยังมีความเข้าใจผิด หรือ มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในตัวบทกฎหมายแรงงานไทย ทั้งนี้ อาจได้ข้อมูล หรือ ได้ความรู้จากนักกฎหมายที่มิได้คลุกคลีกับการออกกฎหมายแรงงานมาโดยตลอด เพียงแต่นักกฎหมายท่านนั้น ได้อ่านเพียงตัวบท แล้วก็ตีความตามที่ตนเข้าใจเป็นการส่วนตัว จากนั้นก็นำมาสอน มาอธิบาย แต่ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของการออกกฎหมายแรงงานดังกล่าว จนในที่สุด ศาลแรงงานกลาง และ ศาลฎีกา ก็ได้ตัดสินให้ฝ่ายนายจ้างที่ใช้วิธีการจ้างเหมาค่าแรง แพ้คดีตามมาตรา 11/1 ไปเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารกิจการต่างๆ โรงงานต่างๆ รวมทั้งฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ควรจะได้มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเจตนารมณ์ของตัวบทกฎหมาย มาตรา 11/1 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่2) พ.ศ. 2551 และ คำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 22326-22404/ 2555 ที่ได้อ่านหน้าบัลลังก์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ และ บรรทัดฐานของศาลฎีกา เพื่อให้กิจการต่างๆ ได้ปฏิบัติให้ถูกกฎหมาย ขณะเดียวกัน ก็ควรจะเข้าใจในทางเลือกที่แตกต่างจากระบบการจ้างงานในปัจจุบัน เพื่อให้ถูกต้องตามบทบัญญัติที่กำหนดในกฎหมายแรงงานไทยด้วย
ในการสัมมนาครั้งนี้ วิทยากร จะเจาะประเด็น ชี้แนะอย่างชัดเจนถึงวิธีการวางแผน และลงมือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ และ คำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 22326-22404/ 2555 ที่ได้อ่านหน้าบัลลังก์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ บรรทัดฐานของศาลฎีกา โดยมีสาระสำคัญ 
หัวข้ออบรมสัมมนา
  • ที่มาของการนำเสนอมาตรา 11/1 มีความเป็นมาอย่างไร 
  • สถานภาพของกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีความหมายอย่างไร
  • ความหมายโดยละเอียด และถูกต้อง ของมาตรา 11/1 วรรคแรก มีความหมายอย่างไร
  • ความหมายโดยละเอียด และถูกต้อง ของมาตรา 11/1 วรรคสอง มีความหมายอย่างไร
  • ค่าตอบแทน ได้แก่อะไรบ้าง
  • สิทธิประโยชน์ ได้แก่อะไรบ้าง
  • สวัสดิการ ได้แก่อะไรบ้าง
  • วิเคราะห์คำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 22326-22404/ 2555 ที่ได้อ่านหน้าบัลลังก์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา
  • ในกรณีที่กิจการท่านไม่ต้องการรับผิดชอบตามมาตรา11/1หรือตามแนว คำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 22326-22404/ 2555 มีข้อยกเว้น หรือ มีทางออก 4 กรณี อะไรบ้าง ที่ไม่ผิดกฎหมาย
  • แนวทางปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ข้อยกเว้น 4 กรณี นั้น ต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง
  • ถาม – ตอบปัญหาข้อข้องใจ

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: มาตรา 11/1, การจ้างเหมาค่าแรง, ค่าตอบแทน, Subcontract, กฎหมาย, แรงงาน

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด