การวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา ความเสี่ยง ข้อบกพร่อง ผลกระทบและการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ( Root Cause Failure Risk – Effects Analysis & Problem Solving )
รหัสหลักสูตร: 66442
1
วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567
เวลา 09:00 - 16:00 น.
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
หากท่านต้องการโบร์ชัวร์หลักสูตรเพื่อนำเสนอ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ทันที Course Outline
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training
การจัดการและการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานขององค์กรนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะต้องอาศัยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาไม่ให้กลับมาเกิดซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาโดยการปฏิบัติการเพื่อแก้ไข (Corrective Action) เพื่อความอยู่รอดและเติบโตขององค์กร การแก้ไขปัญหาปัญหาโดยการปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action) หรือความเข้าใจเรื่องของปัญหาและความผิดปกติ (Problem & Abnormal) ของพนักงานหน้างาน ซึ่งคำว่าปัญหาคือ การปฏิบัติงานหรือผลจากการกระทำใด ๆก็ตามที่นอกเหนือจากที่เราต้องการ ณ เวลาใด ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติ (Abnormality), ความไม่ตรงข้อกำหนด (Nonconformity) และความบกพร่อง (Defect) ใด ๆ
ด้วยการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา (Root Cause Failure Analysis : RCFA) ซึ่งเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญของการค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดต้นเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความผิดปกติหรือความผิดพลาด และการจัดการผลที่ตามมาของปัญหาดังกล่าว และป้องกันมิให้ปัญหานั้นเกิดซ้ำขึ้นได้อีก โดยใช้หลักการและเครื่องมือต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมใช้ เช่น การวิเคราะห์ปัญหาด้วย 8D Report, 5 Gen, Why – Why Analysis และการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effects Analysis) (FMEA) โดยเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้พนักงานในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวคิดพื้นฐานการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเพื่อลดความสูญเสียในการผลิตและบริการอย่างเป็นระบบและถูกต้อง ส่งผลให้เกิดศักยภาพในการทำงานที่มากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและความผิดพลาดอย่างแท้จริง และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและเป็นที่ยอมรับได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์1. เพื่อสร้างหลักการ จิตสำนึกสำหรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความสูญเสียในการผลิตและบริการอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อส่งเสริมสร้างให้พนักงานเกิดแนวคิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบที่ชัดเจน พิสูจน์ได้ ประเมินผลได้ในเชิงคุณภาพและปริมาณ
3. เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความล้มเหลว หรือข้อผิดพลาดของกระบวนการ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการให้มากขึ้น
4. เพื่อสามารถวิเคราะห์และป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบให้ผลลัพธ์ของกระบวนการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
5. สามารถนำเทคนิคการค้นหาและการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ไปใช้งานได้อย่างแท้จริงและอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับทั้งลูกค้าและผู้บริหารภายในองค์กร
1. ความเข้าใจเรื่องของปัญหาและความผิดปกติ (Problem & Abnormal)
2. ความรู้เบื้องต้นของระบบการดำเนินการแก้ไขปัญหา (Corrective Action Process)
3. แนวคิดการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาการหาสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analysis)
4. หลักการของเครื่องมือ 5 Gen
5. เทคนิคการค้นหาและการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่รากเหง้าด้วย 5 why Analysis
6. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ข้อบกพร่องและผลกระทบด้วยหลักการ FMEA (Failure Mode and Effects Analysis)
7. เรียนรู้ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาโดยหลักการ 8D
- D0 - Emergency response action required เตรียมตัวสำหรับกระบวนการ 8D
- D1 - Establish a Team จัดตั้งทีมงาน
- D2 - Describe the Problem เขียนบรรยายปัญหา
- D3 - Develop Interim Containment Action (ICA) จัดทำการแก้ปัญหาชั่วคราว
- D4 - Define & Verify Root Cause and Escape Point กำหนด/วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและจุดบกพร่อง
- D5 - Choose & Verify Permanent Corrective Actions (PCAs) for Root Cause & Escape Point เลือก/ตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาแบบถาวร
- D6 - Implement & Validate Permanent Corrective Actions (PCAs) นำวิธีการแก้ปัญหาแบบ ถาวรมาประยุกต์ใช้ และทวนสอบความถูกต้อง
- D7 - Prevent Recurrence ป้องกันไม่ให้ปัญหากลับมาเกิดซ้ำอีก
- D8 - Congratulation & Close Out แสดงความยินดีกับทีม
วิธีการสัมมนา
- การบรรยาย การให้คำปรึกษา และร่วมอภิปราย ระดมสมอง
อนันต์ ดีโรจนวงศ์
อบรมสำหรับองค์กร (โลจิสติกส์, ระบบมาตรฐานและคุณภาพ, คลังสินค้า, อบรมจัดซื้อ)
การจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics & Supply Chain Management), Warehouse Management, การจัดการด้านขนส่ง, การบริหารจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลัง
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
ห้อง null
เขตคลองเตย | กรุงเทพมหานคร