การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร agenda ( Purchasing spare parts in maintenance )
รหัสหลักสูตร: 66665
-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
การควบคุมอะไหล่หรือ Spare Parts Control ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้เหตุการณ์เครื่องจักรเสียที่รู้สาเหตุและวิธีแก้ไขต้องล้าช้าออกไปเนื่องจากไม่มีอะไหล่ที่จะนำมาใช้ได้ทันที เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่มาจากการควบคุมอะไหล่ โดยมีเป้าหมายการทำ Spare Parts Control คือ
- ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานและความน่าเชื่อถือ (Efficiency and Reliability) ของเครื่องจักรอุปกรณ์ ผ่านกระบวนการ จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดเก็บ ที่มีประสิทธิภาพ
- สร้างความมั่นใจให้กับงาน Breakdown Maintenance และงาน Preventive Maintenance ว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องการใช้อะไหล่เพื่อการซ่อม หรือเพื่อการบำรุงรักษา ต้องหาได้ในทันทีหรือใช้เวลาน้อยที่สุด
- ลดจำนวนอะไหล่คงคลังหรือ Spare Parts Inventory ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนจม เพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ และเพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่ อุปกรณ์ (Spare parts)
2. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) อย่างได้ผล
3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness) ได้จากการเพิ่มเวลาการผลิตของเครื่องจักรด้วยการซ่อมบำรุงได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
4. เพื่อลดเวลาความสูญเสีย (Losses time) ที่เกิดจากเวลาการหยุดของเครื่องจักรที่ยาวนาน (Machine Break-down or Downtime)
5. เพื่อลดความสูญเปล่า (Wastes) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ด้วยการลดเวลาที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าระหว่างการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
6. เพื่อลดของเสีย (Defects) ที่เกิดขึ้นก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
7. เพื่อสามารถวางแผนการจัดซื้อ จัดหา วัสดุ อุปกรณ์ได้อย่างทันเวลาพอดี (Just in time Purchasing)
8. เพื่อให้มีปริมาณวัสดุเผื่อฉุกเฉิน (Safety Stock spare parts) ที่ต่ำอย่างเหมาะสม
9. เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ตามปริมาณและเวลาที่ลูกค้ากำหนดได้อย่างต่อเนื่อง
10. เพื่อลดเวลาการผลิต (Production cycle time) เพิ่มกำลังการผลิต (Capacity) และเพิ่มกำไร (Profit) ให้สถานประกอบการได้
สอนสดออนไลน์ผ่านทาง Zoom
1. การควบคุอะไหล่คืออะไร (Spare Parts Control) และเป้าหมายของการควบคุมอะไหล่
2. ขั้นตอนการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
4. ประเภทของการซ่อมบำรุงรักษา
5. การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance)
6. ความหมายของค่า OEE และ Loss time ของเครื่องจักร
7. การจำแนกประเภทของวัสดุหรืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษา
8. การควบคุมสินค้าคงคลังและการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC (ABC Analysis)
9. วิธีการสั่งซื้ออะไหล่
10. การจำแนกประเภทของวัสดุหรืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษา
11. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดค่า Stock levels
12. การกำหนดปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity) หรือ EOQ
13. Safety Stock ปริมาณสินค้าคงคลังเพื่อความปลอดภัย
14. ตารางและแผนการผลิตหลัก (Master Planning Schedule: MPS)
15. การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ MRP (Material Resource Planning)
16. เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงหรือการคัดเลือกคุณภาพของ Supplier
17. กลยุทธ์การมีข้อตกลงในระยะยาวสำหรับงานจัดซื้อและจัดหา
18. วิธีการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังให้ลดลงอย่างเหมาะสม
วิธีการสัมมนา
- การบรรยาย ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ
สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท: | SeminarDD Academy |
ชื่อผู้ประสานงาน: | ผู้จัดงาน |
เบอร์โทรศัพท์ : | 097-474-6644 |
หากท่านต้องการสมัคร การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร agenda ( Purchasing spare parts in maintenance )
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
เข้าฟังสัมมนาผ่านแพลตฟอร์ม Zoom
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training