หลักสูตรอบรม เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กร สำหรับยุค New Normal ให้ได้ทั้งใจและงาน
รหัสหลักสูตร: 66844
1
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567
เวลา 09:00 - 16:00 น.
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
หากท่านต้องการโบร์ชัวร์หลักสูตรเพื่อนำเสนอ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ทันที Course Outline
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training
การทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ สำเร็จตามเป้าหมายนั้น การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้การทำงานของทีมงานเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้พูดหรือผู้สื่อสารต้องเข้าใจลักษณะของผู้ฟัง หรือ ผู้รับสาร และเลือกใช้เครื่องมือหรือเทคนิคในการสื่อสารที่เหมาะสมแก่ผู้ฟัง
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการสื่อสารคือ ผู้รับสาร เข้าใจเจตนาและความต้องการของผู้พูด หรือ ผู้ส่งสารอย่างดีและครบถ้วน สามารถที่จะตอบสนองหรือปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ในเวลาอันรวดเร็ว หลักสูตรนี้จึงเป็นหลักสูตรที่จะแนะนำการประเมินผู้ฟัง หรือ ผู้รับสาร และ เครื่องมือสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งในการสื่อสารแบบตัวต่อตัว หรือ การสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้ผู้ส่งสารสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการสื่อสารที่เหมาะสมแก่ผู้รับสารทุกรูปแบบ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจถึงลักษณะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในยุคนิวนอร์มัล
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจถึงเครื่องมือ / เทคนิค /ทักษะของการสื่อสารในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถพิจารณาและจัดประเภทผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม
4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในแนวดิ่ง และ แนวราบ
ลักษณะการเรียนรู้
บรรยาย
Workshop
Quiz
1.Pre-Test
แบบทดสอบง่าย ๆ 5 ข้อเพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมประเมินตนเองในหัวข้อที่จะเรียน
2.ลักษณะการสื่อสารที่มีทรงคุณภาพในยุคนิวนอร์มัล
หัวข้อนี้จะเป็นการบรรยายโครงสร้างการสื่อสารที่ดี องค์ประกอบของการสื่อสาร คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้พูด/ผู้ส่งสาร เครื่องมือในการสื่อสารประเภทต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ท้ายเซสชั่นจะมีการ Workshop จับคู่เพื่อประเมินผู้ฟังว่าเป็นประเภทไหน
2.1 Visual Learner หรือฟังผ่านภาพได้ผลที่สุด โดยที่ผู้ฟังหรือผู้รับสารประเภทนี้จะรับสารได้ดีที่สุดเมื่อมีภาพหรือการเปรียบเปรยกับสิ่งที่มองเห็น จินตนาการเป็นรูปได้ หากต้องการสื่อสารกับผู้ฟังกลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพ เครื่องมือสื่อสารควรเป็นรูปภาพ หรือคลิปมาใส่ร่วมกัน หรือเน้นย้ำว่า “ขอให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารนึกภาพตาม”
2.2 Aural Learner หรือผู้ฟังหรือผู้รับสารผ่านเสียง ผู้ฟังหรือผู้รับสารประเภทนี้จะตอบสนองต่อเสียงได้ดีที่สุด
2.3 Verbal Learner ผู้ฟังหรือผู้รับสารผ่านคำ โดยผู้ฟังหรือผู้รับสารเหล่านี้เรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อต้องสื่อสารจากการเขียนหรือการอ่าน
2.4 Physical Learner ผู้ฟังหรือผู้รับสารผ่านร่างกาย วิธีสังเกตผู้ฟังหรือผู้รับสารประเภทนี้คือพวกเขามักจะใช้ภาษากายมากกว่าจะพูด ผู้ฟังหรือผู้รับสารประเภทนี้เรียนได้ดีที่สุดเมื่อเนื้อหาเชื่อมโยงกับอารมณ์และร่างกาย เคล็ดลับในการสื่อสารกับผู้ฟังกลุ่มนี้คือใช้อุปกรณ์เช่น การเขียน Mind-mapping ลงบนกระดาษ
2.5 Logical Learner ผู้ฟังหรือผู้รับสารผ่านตรรกะ ผู้ฟังหรือผู้รับสารกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จัดระเบียบข้อมูลต่างๆได้เก่งที่สุด และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆได้เก่ง รวมทั้งมองสิ่งต่างๆได้จากหลายมุมมอง ผู้ฟังหรือผู้รับสารเหล่านี้มักจะเป็นหัวหน้างานกลุ่มต่างที่ดีได้
2.6 Social Learner ผู้ฟังหรือผู้รับสารผ่านสังคม ผู้ฟังหรือผู้รับสารเหล่านี้จะเป็นคนที่เพื่อนเยอะ ชอบทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆไม่ว่าจะเป็นเกมส์กีฬาหรือวงดนตรี การสื่อสารกับผู้ฟังหรือผู้รับสารเหล่านี้ได้ดีโดยการผ่านกิจกรรมเล็กๆเช่น การถามคำถาม การทำงานกลุ่มกิจกรรม
2.7 Solidarity Learner ผู้ฟังหรือผู้รับสารเดี่ยว ผู้ฟังหรือผู้รับสารเหล่านี้เป็นประเภทที่สามารถสื่อสาร/รับสารได้อย่างสบายใจที่สุดเมื่อได้รับความเป็นส่วนตัวหรืออยู่คนเดียว ด้วยการมอบเป้าหมายที่ชัดเจนให้กับผู้ฟังหรือผู้รับสารเหล่านี้ เพื่อให้เขาสามารถนำไปปรับใช้เองได้อย่างดีที่สุด
3.เทคนิค 3C ในการสื่อสาร (3-C Communication)
3.1 เทคนิคในการสื่อสารแบบ 3C คือ Content-Connect-Conclude สำหรับการสื่อสารที่ต้องการความรวดเร็ว และมีคนที่รับสารเป็นจำนวนมาก
3.2 Content หรือ เนื้อหาจะสรุปประเด็น Who-What-When-Why-How ได้อย่างไร และปริมาณเนื้อหาที่เหมาะสมในการสื่อสารควรเป็นอย่างไร
3.3 Connect หรือ การเชื่อมต่อ จะเชื่อมต่อไปถึงผู้ฟังได้อย่างไร ผ่านการพูด ผ่านการเขียน ผ่านการประชุม ผ่านอีเมล ผ่านไลน์ หรือ ผ่านหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน
3.4 Conclude หรือ สรุป ความต้องการในการสื่อสารคืออะไร ควรสรุปได้ใน 2 นาที
4.เทคนิคการสื่อสารเพื่อให้ได้ใจเพื่อนร่วมงานด้วยเทคนิค ABC : Audience-Benefit-Consequence
4.1 A : Audience – ในการนำเสนอ ผู้พูดต้องทำความรู้จักผู้ฟัง และทำความเข้าใจว่าผู้ฟังต้องการอะไร ให้ชัดเจน เพราะในหัวข้อเดียวกัน หากนำเสนอให้พนักงานฟัง กับนำเสนอให้ผู้บริหารฟัง เนื้อหาและภาษาที่ใช้ ก็ควรแตกต่าง
4.2 B : Benefits – ต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่า ประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับจากเนื้อหาที่นำเสนอคืออะไร และถ้าเป็นไปได้ ใช้ประโยชน์นี้เป็นชื่อหัวข้อในการนำเสนอ หรือใช้พาดหัวในตอนเริ่มต้นการนำเสนอ จะช่วยดึงดูดความน่าสนใจได้มากยิ่งขึ้น
4.3 C : Consequence – หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้ฟังทำหลังจากการนำเสนอจบสิ้นลง เช่น ต้องการให้ตัดสินใจ ต้องการให้แสดงความคิดเห็น ต้องการให้ช่วยบอกต่อ เป็นต้น ระบุให้ชัดเจน เพื่อผู้ฟังจะได้รับทราบว่า ฟังจบแล้วต้องทำอะไรต่อไป (What’s Next)
5.เทคนิคการสื่อสารแบบผู้นำยุคนิวนอร์มัล
5.1 Outward Mindset – คิดถึงส่วนรวม
การจะเป็นผู้นำที่ดีแน่นอนว่า “ประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนตน” ผู้นำที่ดีจึงต้องเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อส่วนร่วม มี outward mindset คิดถึงผู้อื่นก่อนตัวเอง พร้อมสนับสนุนและปกป้องพนักงานให้มีพื้นที่ปลอดภัยในการทำงาน ช่วยเหลือพนักงานให้พัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ซึ่งจะนำมาสู่การปลดล็อควัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ผู้นำจะต้องเสียสละรับผิดชอบทำหน้าที่ที่มากขึ้น คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำ เป็นนักฟังที่ดี มีความเห็นอกเห็นใจ รับผิดชอบแทนลูกน้อง สร้างแรงจูงใจแทนการสั่งงาน แสวงหาความร่วมมือและแรงสนับสนุนจากรอบด้าน ผลักดันให้ลูกน้องได้เติบโต รวมถึงมีความสามารถในการมองภาพรวมและมองการณ์ไกลเพื่อนำทีมไปสู่เป้าหมาย
5.2 Inspirational - สร้างแรงบันดาลใจ
บทบาทของผู้นำยุคใหม่จึงเน้นหนักที่การสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งไม่ได้แปลว่าผู้นำต้องเป็นคนพูดเก่งราวกับนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ แต่เป็นผู้นำที่สามารถ walk the talk ทำให้เราเห็นว่าเขาเชื่อมั่นใน core value ขององค์กรจริงๆ เป็นผู้นำที่กล้ากำหนด purpose เหนือ profit กล้าจินตนาการถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ เป็นผู้นำที่ทำให้พนักงานเห็นคุณค่าของงานที่ทำและมีแรงบันดาลใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับตัวเอง องค์กร และสังคม
5.3 Lifelong learning – เรียนรู้อยู่เสมอ
ธุรกิจ 10 ปีที่แล้ว กับธุรกิจในตอนนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การบริหารจึงไม่สามารถใช้แนวทางเดิมๆ หรือปฏิบัติตามสูตรสำเร็จที่เคยใช้กันมาได้อีกต่อไป คนที่อยู่ในฐานะผู้นำจึงต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และคอยพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เปิดใจยอมรับไอเดียและฟีดแบคจากผู้อื่น ทั้งการเรียนรู้จากพนักงาน ลูกค้า หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
5.4 Communication – สื่อสารเป็น
คุณสมบัติด้านการสื่อสารจึงเป็นสิ่งผู้นำขาดไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ใหม่และไม่มี know how ในการรับมือมาก่อน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารอย่างเปิดเผยและจริงใจเพื่อสร้างความไว้วางใจให้ สื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจเพื่อปลอบประโลมและเยียวยาความรู้สึกของพนักงาน และสื่อสารโน้มน้าวใจเพื่อชักจูงให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
5.5 Emotional Intelligence - ความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดทางอารมณ์เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้นำในการบริหารจัดการตัวเองและบริหารทีม การเป็นผู้นำในยุคนี้ต้องเจอกับความเครียดและบททดสอบมากมาย หากผู้นำไม่รู้จักบริหารจัดการอารมณ์ของตัวเองให้ดีก็จะส่งผลเสียต่อบรรยากาศในการทำงาน ขณะเดียวกันผู้นำก็ต้องมีความสามารถที่จะเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เพื่อที่จะสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของผู้อื่น ยิ่งในวิกฤตที่ผู้คนมักรู้สึกไม่มั่นคง เครียด และกังวลใจ ผู้นำจะเป็นที่พึ่งสำคัญในการทำให้สภาวะจิตใจของพนักงานกลับมาสู่จุดสมดุลและพร้อมเดินหน้าทำงานเพื่อองค์กรต่อไป
5.6 Unstructured Problem-Solving - คิดพลิกแพลงแก้ปัญหา
ผู้นำต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆ แทบทุกวัน บ่อยครั้งแผนที่วางไว้ล่วงหน้าเมื่อถึงเวลาจริงก็อาจจะใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องคอยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ ผู้นำจึงจำเป็นต้องมีระบบความคิดที่ยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) เพื่อที่จะสามารถพลิกแพลงหาวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่สามารถมองเห็นปัญหาในภาพรวม ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและไอเดียต่างๆ (connecting dots)
เพื่อนำมาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และตัดสินใจแก้ปัญหาโดยไม่จำกัดการแก้ปัญหาอยู่ในกรอบเดิมๆ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นสำคัญของการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
5.7 Change Management – บริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง
ผู้นำจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง ทั้งการปรับปรุงโครงสร้างและกระบวนการทำงานให้มีความเหมาะสมเพื่อให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่น การนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับตัวได้ทันทีเมื่อความเปลี่ยนแปลงมาถึง
ทบทวนหลังเรียน After Action Review (AAR)
ให้ผู้เข้าอบรมได้ประเมินตนเอง สื่อสารกับตัวเองว่า
1. เป้าหมายหรือความคาดหวังของท่านก่อนเข้าเรียนคืออะไร
2.เรียนแล้วเป็นไปตามเป้าหมายหรือความคาดหวังหรือไม่ เพราะอะไร
3.สิ่งที่เกินเป้าหมายหรือความคาดหวัง เพราะอะไร
4.สิ่งที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือความคาดหวัง หรือปัญหาที่พบ เพราะอะไร
5.ท่านจะกลับไปทำอะไรต่อ หรือปรับปรุงการทำงานอย่างไร
ดร.ภคพร กุลจิรันธร
อบรมสำหรับองค์กร (การเป็นผู้นำ / ผู้บริหาร)
วิทยากรผู้มีประสบการณ์ในการบริหารและ ทำ งานในบริษัทและองค์กรระหว่างประเทศ ของญี่ปุ่น มีความเชี่ยวชาญในวัฒนธรรมและ การทำ งานกับชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างดี และยังมี ความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เยี่ยม ได้คะแนนสอบ TOEIC 985 จากคะแนน เต็มทั้งหมด 990 คะแนน
- บุคลากรใหม่ของหน่วยงาน
- หัวหน้างาน
- ผู้บริหารที่ต้องติดต่อกับบุคคลจำนวนมาก
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
ห้อง null
เขตคลองเตย | กรุงเทพมหานคร