Train to be Professional Trainer

รหัสหลักสูตร: 23663

จำนวนคนดู 1313 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
“การฝึกอบรม” (Training) คือแนวทางหนึ่งในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรในกรณีที่มีเวลาจำกัดและสามารถพัฒนาบุคลากรได้จำนวนมากต่อการฝึกอบรมหนึ่งครั้ง ซึ่งความสำเร็จของการฝึกอบรมนั้นคือต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และมีความสามารถในการปฏิบัติงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อหน้าที่การปฏิบัติงาน
บ่อยครั้งเมื่อมีการจัดฝึกอบรมแล้ว ผู้เข้ารับการอบรมไม่สามารถนำข้อมูลหรือสาระสำคัญของการฝึกอบรมมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งอาจจะมาจากผู้ดำเนินการฝึกอบรม หรือที่เรียกว่า “วิทยากร” (Trainer) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเป็นอย่างดี แต่ยังขาดเทคนิคในการนำเสนอความรู้ความสามารถดังกล่าวให้เป็นที่น่าสนใจและจดจำสำหรับผู้เข้ารับการอบรม หรือไม่สามารถนำเสนอให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระสำคัญที่สอนได้
การฝึกอบรมจะเกิดประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริงหากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเป็นผู้ที่มีความสามารถในการนำเสนอหรือสอนอีกประการหนึ่ง จะส่งผลให้ผู้รับการอบรมเกิดการเรียนรู้ที่จดจำ เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้ จนกระทั่งก่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ดังนั้น หัวข้อการฝึกอบรมดังกล่าวจึงออกแบบขึ้นเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรให้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมโดยตรง ตลอดจนผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจขององค์กรให้สามารถนำเสนอและฝึกสอนบุคลากรภายในองค์กรให้เกิดความรู้ ความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้ออบรมสัมมนา
1. วิทยากรคือใคร?
     a. ความหมายของคำว่า “วิทยากร”
     b. หน้าที่ของวิทยากร
     c. ความแตกต่างของคำว่า “ฝึกอบรม” “สัมมนา” “ประชุมเชิงปฏิบัติการ”
2. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการเป็นวิทยากร
     a. เทคนิคการสรุปประเด็น จากการอ่าน การฟัง
     b. เทคนิคการออกแบบตัวแบบ (Model)
     c. เทคนิคการนำเสนออย่างเป็นระบบ
     d. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
3. หลักการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิบัติ (Actionable Learning Theory)
     a. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิบัติ
     b. ระดับของการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
4. การเตรียมการฝึกอบรม
     a. การกำหนดหลักสูตรฝึกอบรม / การเขียนโครงการ
     b. การวิเคราะห์ผู้เข้ารับการอบรม
     c. การออกแบบวิธีการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
     d. การจัดลำดับประเด็นหลักและประเด็นสนับสนุนในการนำเสนอ
     e. การจัดทำสื่อนำเสนอ
5. เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วม
     a. เทคนิคการใช้คำถาม
     b. การใช้กิจกรรมและเกมประกอบการอบรม
     c. เทคนิคการสร้างความเข้าใจ (Memorizing Technique, Story Design)
6. วิธีวิทยาในการฝึกอบรม
     a. การบรรยาย
     b. การระดมความคิด
     c. การแสดงบทบาทสมมติ
     d. การฝึกปฏิบัติจริง
     e. กรณีศึกษา
7. บุคลิกภาพของวิทยากร
     a. การขจัดอาการประหม่า
     b. การใช้มือ, การใช้สายตา, การยืน, การใช้น้ำเสียง
8. เทคนิคการรับมือสถานการณ์ในการฝึกอบรม
     a. การรับมือกับคำถามและข้อโต้แย้ง
     b. การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
     c. การวิเคราะห์ผู้เข้ารับการอบรมและแนวทางการจัดการ
วันที่ 1 : การปรับพื้นฐานวิทยากร หลักการพื้นฐานเบื้องต้น สมรรถนะสำหรับวิทยากร ฝึกปฏิบัติ

วันที่ 2 : การฝึกปฏิบัติการสรุปประเด็น การสร้างตัวแบบ

วันที่ 3 : การฝึกปฏิบัติการนำเสนออย่างเป็นระบบ

วันที่ 4 : การฝึกปฏิบัติการนำเสนออย่างเป็นระบบ

วันที่ 5 : เทคนิคต่าง ๆ ในการบรรยายเพื่อสร้างบรรยากาศ การพัฒนาบุคลิกภาพ

วันที่ 6 : การจัดทำสื่อประกอบการสอน

วันที่ 7 : การฝึกปฏิบัติแบบรวบยอด

วันที่ 8 : การฝึกปฏิบัติแบบรวบยอด

วันต่อ ๆ ไป ปฏิบัติจริงพร้อมเป็นที่ปรึกษาให้จนกว่าท่านจะเป็นวิทยากรมืออาชีพ

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: วิทยากร, train the trainer, ฝึกอบรม

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด