หลักสูตร Update กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ล่าสุดปี 2565

รหัสหลักสูตร: 66467

จำนวนคนดู 1504 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม
สอนสดออนไลน์
หลักสูตร Update กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ล่าสุดปี 2565
รอบที่

-

ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้

ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่

วัตถุประสงค์
   1.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันมีกรณีใดบ้างและการออกหนังสือเตือน-หนังสือสั่งพักงาน-ออกหนังสือเลิกจ้างเขียนให้ดีให้มีผลในทางกฎหมายต้องเขียนอย่างไร...หรือการปฏิบัติตนผิดข้อบังคับในการทำงาน-ผิดสัญญาจ้างจะมีความผิดอย่างไร...
   2.  เพื่อให้ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ตาม ม.33 ทราบสิทธิ เพื่อรับประโยชน์ตอบแทนกรณีนอกเหนือจากการทำงานให้กับนายจ้างตามกฎหมายประกันสังคมที่บัญญัติไว้ให้ลูกจ้างได้รับสิทธิต่างๆ
   3.  เพื่อให้ทราบสิทธิของตนขณะปฏิบัติงานให้กับนายจ้างหรือขณะปกป้องทรัพย์สินของนายจ้าง กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจะได้รับสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนจากกองทุนเงินทดแทนมีกรณีใดบ้าง

สอนสดออนไลน์ผ่านทาง Zoom

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อในการอบรม
หมวด 1 : กฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขใหม่ที่มีผลบังคับใช้ปี 2565
     1.    กฎหมายแรงงานที่มีผลบังคับใช้ล่าสุด 7 กรณี มีอะไรบ้าง...?
               •     การได้รับสิทธิของลูกจ้าง กรณีลากิจได้รับค่าจ้าง
               •     การได้รับสิทธิกรณีลาตรวจครรภ์-คลอดบุตร
               •     การย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้าง
               •     กรณีเปลี่ยนนายจ้างใหม่-เปลี่ยนนิติบุคคล
               •     การได้รับเงินเพิ่มค่าดอกเบี้ยที่นายจ้างผิดนัด
               •     การได้รับสิทธิเงินค่าชดเชย กรณีออกจากงาน
               •     การได้รับสิทธิเท่าเทียมกันของลูกจ้างชาย-ลูกจ้างหญิง
     2.    การแก้ไขข้อบังคับในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ต้องดำเนินการอย่างไร..?
     3.    ตำแหน่งงานที่นายจ้างมีสิทธิเรียก -รับเงินประกันการทำงานมีตำแหน่งงานใดบ้าง..?
     4.    นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างลูกจ้างมีหลักเกณฑ์การหักค่าจ้าง กรณีใดบ้าง..?
     5.    กรณีกองบังคับคดีมีหนังสือให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างตามคำพิพากษาของศาล การหักค่าจ้างลูกจ้างมีเงินอะไรบ้าง..?
     6.    กรณีลูกจ้างยื่นหนังสือลาออกทำงานอยู่ไม่ครบ 30 วันทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..?
     7.    กรณีนายจ้างมีนโยบายลดค่าจ้างลูกจ้างทุกตำแหน่งงาน 20% ของค่าจ้าง ต้องใช้เทคนิคอย่างไร..?
     8.    กรณีลูกจ้างยื่นหนังสือลาออกต่อมาลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าต่างๆและบรรยายฟ้องว่าถูกบีบหรือถูกบังคับให้ลาออก เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาวต้องออกหนังสือการลาออกอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง การออกหนังสือลาออก  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     9.    มีนโยบายปิดงานลูกจ้างเป็นบางส่วนเป็นเวลา 30 หรือ 60 วัน นายจ้างต้องออกหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง  การออกหนังสือ  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     10.    ลูกจ้างมาทำงานสายหักค่าจ้างไม่ได้ เทคนิคการทำให้นายจ้างหักค่าจ้างได้ต้องออกระเบียบปฏิบัติอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง การออกระเบียบปฏิบัติ กรณีมาทำงานสาย  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     11.    การออกหนังสือเตือนเขียนให้ดีให้มีผลต่อการทำผิดซ้ำคำเตือนตาม พ.ร.บ.2541 ม.119 (4) เพื่อเลิกจ้างต้องระบุข้อความในหนังสือเตือนอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง  การออกหนังสือเตือน  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     12.    การออกหนังสือพักงานเขียนให้ครอบคลุมความผิดต้องเขียนอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง  การออกหนังสือสั่งพักงาน  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     13.    กรณีลูกจ้างทำผิดวินัยร้ายแรงนายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆต้องออกหนังสือเลิกจ้างอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง  การออกหนังสือเลิกจ้าง  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     14.    กรณีนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมาหลายเดือนจึงมีนโยบายเลิกจ้างพนักงาน เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิภายหลังนายจ้างต้องออกหนังสือเลิกจ้างและให้เหตุผลอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง  การออกหนังสือเลิกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
     15.    กรณีนายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างพนักงานโดยไม่มีความผิดให้ออกก่อนเกษียณอายุในการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิภายหลังนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร..?
               •     มีตัวอย่าง  การออกหนังสือเกษียณงานตามโครงการ  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
หมวด 2: การได้รับสิทธิของลูกจ้างจากกองทุนประกันสังคม
     16.    วัตถุประสงค์ของกองทุนประกันสังคมและสิทธิของผู้ประกันตน ตาม ม.33 มีกรณีใดบ้าง..?
     17.    กรณีเจ็บป่วยปกติจะได้รับการรักษาและได้รับสิทธิเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างหยุดงานอย่างไร..?
     18.    กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาโรงพยาบาลตามสิทธิไม่ได้ต้องดำเนินการอย่างไร..?
     19.    กรณีทันตกรรม-ถอนฟัน-อุดฟัน-ขูดหินปูน-ผ่าฟันคุด-ใส่ฟันเทียม จะได้รับสิทธิอย่างไร..?        
     20.    กรณีคลอดบุตร การได้รับสิทธิของผู้ประกันตนหญิงและผู้ประกันตนชาย จะได้รับสิทธิอย่างไร..?
     21.    กรณีทุพพลภาพหรือในกรณีตาย จะได้รับสิทธิจากกองทุนประกันสังคมอย่างไร..?
     22.    กรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับสิทธิตามกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร..?
     23.    กรณีชราภาพและเงินบำเหน็จชราภาพ-เงินบำนาญชราภาพ จะได้รับสิทธิอย่างไร..?
     24.    กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนหรือ ( 5 ปี ) จะได้รับสิทธิอย่างไร..?
     25.    กรณีว่างงาน กรณีที่ 1 ถูกเลิกจ้าง กรณีที่ 2 ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับสิทธิอย่างไร..?
หมวด 3 : การได้รับสิทธิของลูกจ้างจากกองทุนเงินทดแทน
     26.    กองทุนเงินทดแทนจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง..?
     27.    เงินสมทบของกองทุนเงินทดแทนมาจากที่ใด-เมื่อใดลูกจ้างได้รับการคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
     28.    การประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้กับนายจ้าง หมายความว่าอย่างไร..?
     29.    การเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง หมายความว่าอย่างไร..?
     30.    การสูญหายอันเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง หมายความว่าอย่างไร..?
     31.    เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้างจะได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง..?
     32.    ในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง ต้องปฏิบัติอย่างไร..?
     33.    หน้าที่ของนายจ้างในการนำส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล ต้องปฏิบัติอย่างไร..?
     34.    ค่ารักษาพยาบาลตลอดระยะเวลาการรักษากองทุนเงินทดแทนมีอัตราจ่ายอย่างไร..?
     35.    ค่าทดแทนกรณีเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวและไม่สามารถทำงานได้ มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร..?
     36.    ยกตัวอย่าง การจ่ายค่าตอบแทน เพื่อเปรียบเทียบตามค่าจ้างในกรณีต่างๆ
     37.    ค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร..?
     38.    ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร..?
     39.   ค่าทดแทนกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้าง มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร..?
     40.  ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย กฎหมายบัญญัติให้ได้รับสิทธิมีใครบ้าง..?
              •    ถาม - ตอบ - แนะนำ
              •    ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหาร - พนักงานทุกระดับ
              •    ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา “ฟรี” ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย
วิทยากร
ภาษาในการบรรยาย
ไทย
ประกาศนียบัตร

สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อย่าลืมบอกผู้จัดงานว่าเห็นประกาศจากเวป "สัมมนาดีดี" นะคะ
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท:SeminarDD Academy
ชื่อผู้ประสานงาน:ผู้จัดงาน
เบอร์โทรศัพท์ :097-474-6644
สอนสดออนไลน์

หากท่านต้องการสมัคร หลักสูตร Update กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ล่าสุดปี 2565
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้


เข้าฟังสัมมนาผ่านแพลตฟอร์ม Zoom

ค่าฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ 200%
ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training

คำค้นประกาศนี้ Tags: หลักสูตร Update กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคม, กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ล่, กฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ล่าสุดปี 2565

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด