ข้อกำหนดการแปลสัญลักษณ์ GD&T และการประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดตามมาตรฐาน ASME Y14.5-2009
รหัสหลักสูตร: 36265
-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
ในปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพด้านการผลิตได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วหลายๆองค์กรต่างพัฒนายกระดับคุณภาพของสินค้าของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตรงกับความต้องการและสามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า การควบคุมคุณภาพจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในการที่จะทำให้องค์กรบรรลุถึงความต้องการดังกล่าวข้างต้น การควบคุมคุณภาพจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ขั้นตอนที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานตั้งแต่การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบระหว่างกระบวนการผลิต และสินค้าสำเร็จรูป
องค์กรจะต้องมีความเข้าใจในหลักการสำคัญของ GD&T [Geometry Dimensional and Tolerance] ตามมาตรฐาน ASME Y14.5-2009 ปัจจุบันระบบการควบคุมคุณภาพ (Quality Control System) ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านการผลิต จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการแปลสัญลักษณ์ในแบบงาน ที่ใช้ในการควบคุมมาตรฐานชิ้นงาน เพื่อลดความผิดพลาดในการแปลสัญลักษณ์ในแบบงานแล้วนำไปสู่การผลิตชิ้นงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบคุณภาพและกระบวนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิตและมิติ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการทำงาน
ในภาคอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ว่าจะเป็นงานขึ้นรูปการผลิตด้วยการ ฉีด เป่า ตัด กลึง ไส ปั้มขึ้นรูป การประกอบ ส่วนใหญ่แล้วพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่หน้างานนั้นจะถูกมองข้ามหรือถูกละเลย หรือได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นน้อยมาก หรือมีการฝึกอบรมแต่ไม่ได้จริงจังหรือเข้มงวดมากนัก ซึ่งจริงๆแล้วพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่หน้างานนั้นถือว่าสำคัญอย่างมากและมีผลโดยตรงกับคุณภาพของชิ้นงาน และยอดการผลิต หลายๆโรงงานมักจะเจอปัญหาบ่อยครั้งที่พนักงานอ่าน Drawing ไม่ได้, วัดขนาดชิ้นงานผิด, ใช้เครื่องมือวัดผิด ส่งผลกระทบเวลา Setup เครื่องจักร, เริ่มผลิตชิ้นงานตัวแรก (First piece) จนไปถึงการผลิตยาวและการสุ่มตรวจสอบชิ้นงานตามช่วงเวลา ส่งผลให้เกิดงาน NG ขึ้นในกระบวนการผลิตนั่นเอง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมหาศาล Productivity ไม่ได้ งานผลิตได้ไม่พอส่งให้ลูกค้า เสียเวลาในการ Sort งานและเสียค่าแรงพนักงานในการ Sort งาน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากกระบวนการผลิตทั้งนั้น
ดังนั้นพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่หน้างานจะต้องสามารถอ่าน Drawing และสัญลักษณ์ GD&T ได้อย่างแม่นนยำพร้อมทั้งสามารถเลือกเครื่องมือวัด ที่จะใช้วัดขนาดชิ้นงานในแต่ละจุดได้อย่างถูกต้อง ถ้าพนักงานมีความสามารถและศักยภาพสูงจะสามารถทำให้การปรับปรุงพัฒนาด้านกระบวนการผลิตและด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นไปได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพให้กับพนักงาน
2. เพื่อเสริมสร้าง ทักษะการอ่านแบบทางวิศวกรรม (Drawing) การอ่านสัญลักษณ์ ค่าพิกัดความคลาดเคลื่อน GD&T
3. เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้เครื่องมือวัดและการประยุกต์ใช้ระบบการวัดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
4. เพื่อลดความผิดพลาดในการวัดชิ้นงาน
5. เพื่อลดปัญหาด้านคุณภาพ ลดปัญหางานเคลมจากลูกค้า ลดต้นทุนการผลิต
เนื้อหาหลักสูตรวันที่ 1
1. ความเข้าใจพื้นฐานด้าน Drawing
2. การกำหนดส่วนต่างๆ ของชิ้นงานในแบบงาน (Drawing)
3. ประเภทของเส้นในการอ่านแบบ
4. การมองภาพ 3 มิติ 2 มิติ เพื่อการเข้าใจแบบพื้นฐาน
5. การอ่านภาพฉายจากแบบ
6. เส้นให้ขนาดและสัญลักษณ์คำสั่งต่างๆ ใน Drawing
7. ลักษณะแบบและการอ่านแบบ
8. การกำหนดจุดวัดและข้อควรระวัง
9. ลักษณะของพื้นผิว
10. ข้อกำหนดพื้นฐานของพื้นผิว
11. สัญลักษณ์และค่าความหยาบของพื้นผิว
12. การกำหนดค่าความหยาบของพื้นผิว
13. การใช้สัญลักษณ์ต่างๆในการกำหนดลักษณะของพื้นผิว
14. ประเภทของเครื่องมือวัดละเอียด
15. รายละเอียดของเครื่องมือวัดละเอียดกับการประยุกต์ใช้งาน
16. เทคนิคการวิเคราะห์ระบบการวัด Measuring System Analysis (MSA)
17. เทคนิคการคัดเลือกเครื่องมือวัดที่ใช้วัดขนาดชิ้นงานตาม Drawing
18. เทคนิคการกำหนดจุดวัดใน Drawing
19. ตัวอย่างกรณีศึกษา + แบ่งกลุ่มทำ Work shop และอภิปราย
20. กิจกรรมกลุ่มระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
21. ถาม - ตอบ
เนื้อหาหลักสูตรวันที่ 2
1. กฎพื้นฐานของ Geometric Dimension and Tolerance (GD&T)
2. สัญลักษณ์ของ Geometric Dimension and Tolerance (GD&T)
- ความราบ (Flatness)
- Circular Run out
- ความตรง (Straightness)
- Total Run out
- ความกลม (Roundness)
- Profile of line
- ความเป็นทรงกระบอก (Cylindricity)
- Profile of surface
- ความขนาน (Parallelism)
- ดาตัม (Datum)
- ความตั้งฉาก (Perpendicular)
- สัญลักษณ์ปรุงแต่ง (Modifier)
- ความเอียงเป็นมุม (Angularity)
- MMC, LMC
- ตำแหน่ง (Position)
- ร่วมศูนย์
- สมมาตร (Symmetryร่วมแกน (Concentricity))
3. เทคนิคการอ่านสัญลักษณ์ค่าความคลาดเคลื่อน (GD&T) บน Drawing
4. เทคนิคการคัดเลือกเครื่องมือวัดที่ใช้วัดขนาดชิ้นงาน (GD&T) บน Drawing
5. เทคนิคการกำหนดจุดตรวจวัดใน Drawing
6. การกำหนดค่าความหยาบของพื้นผิว ลงบน Drawing
7. การใช้สัญลักษณ์ต่างๆในการกำหนดลักษณะของพื้นผิวลงบน Drawing
8. ตัวอย่างกรณีศึกษา + แบ่งกลุ่มทำ Work shop และอภิปราย
9. กิจกรรมกลุ่มระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
10. ถาม - ตอบ
สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร
เบอร์โทรศัพท์ : | 0623155283,021912509 |
หากท่านต้องการสมัคร ข้อกำหนดการแปลสัญลักษณ์ GD&T และการประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดตามมาตรฐาน ASME Y14.5-2009
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training