พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 Thailand's Personal Data Protection Act (PDPA)

รหัสหลักสูตร: 65797

จำนวนคนดู 1648 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562  Thailand's Personal Data Protection Act (PDPA)
รอบที่

-

ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้

ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่

          เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเก็บรักษาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลของลูกจ้าง หากข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่โดยไม่ได้รับการอนุญาต จะส่งกระทบกับการชดเชยค่าสินไหมต่างๆเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องควรระวังการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลพระราชบัญญัติฉบับนี้ของผู้ควบคุมส่วนบุคคล


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

   1. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562

   2. เพื่อให้เข้าอบรมเข้าใจในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล การเผยแพร่ข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคล

   3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง ผลกระทบ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562

   4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิคต่างๆไปจัดทำเป็นนโยบาย คู่มือในการปฏิบัติ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 และสื่อสารให้กับพนักงานทราบนำไปปฏิบัติในการทำงานร่วมกัน

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการสัมมนา

    1. เหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.​2562

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองมีอะไรบ้าง
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องคุ้มครอง กับข้อมูลที่ต้องยกเว้นตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

   2. สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • ข้อมูลส่วนบุคคล" คืออะไรและใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึงอะไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรมีข้อยกเว้นอย่างไร?
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Controller) ผู้ประมวลข้อส่วนบุคคล (Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)คือใคร ?มีบทบาทหน้าที่อย่างไร?
  • สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • หลักการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล เปิดเผยข้อมูล
  • ความรับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษปรับทางปกครอง

   3. ขอบเขตการใช้บังคับบริษัทในประเทศไทย บริษัทในต่างประเทศที่มีการบริการลูกค้าในไทยต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายนี้

   4. สิ่งที่องค์กรควรเตรียมความพร้อม เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้

   5. หน่วยงานใดในองค์กรเกี่ยวข้องกับ PDPA บ้าง?

  • HR –การเก็บข้อมูลพนักงาน ใบสมัครงาน กรณีเก็บข้อมูลบัตรประชาชน การติดตั้งกล้องถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ เป็นต้น
  • Legal and Compliance- การทำสัญญา ข้อตกลง นโยบายความเป็นส่วนบุคคล
  • IT- ต้องจัดหาโปรแกรมการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานขั้นต่ำ ระบบสมาชิก เว็บไซด์ต่างๆของบริษัท
  • Marketing-การใช้ข้อมูลในการทำการตลาด การประชาสัมพันธ์
  • Sale –การเก็บข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลการติดต่อบุคคล
  • Purchase – การเก็บข้อมูลบุคคลที่ติดต่อในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • ฝ่ายผลิต – กรณีต้องใช้ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นต้องทำหนังสือขอเป็นลายลักษณ์อักษรหรือกรณีใช้ติดต่อดำเนินการเพื่อประโยชน์บริษัทไม่ต้องขออนุญาต
  • ฝ่ายประกันคุณภาพ ข้อมูลบุคคลที่ต้องมีการติดต่อ ต้องเก็บเป็นความลับ ห้ามใช้นอกเหนือจากเรื่องการทำงาน
  • คลังสินค้า – ข้อมูลติดต่อรับสิ้นค้า หรือส่งสินค้าใช้เฉพาะในการดำเนินการปกติเท่านั้น ห้ามให้ข้อมูลผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
  • ฝ่ายบัญชี-การเงิน -ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคลเพื่อใช้จ่ายหนี้สิน และประสานงานกับ Supplier ใช้ตามปกติ ห้ามให้ข้อมูลผู้อื่น ยกเว้นข้อมูลพนักงานที่ต้องนำส่งสรรพากร ติดต่อราชการในกิจการ เท่านั้น

   6. แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Guideline on Data Protection Impact Assessment) ตามขอบเขตของDPIA

   7. กรณีศึกษา/ตัวอย่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)

   8. กรณีศึกษา/ตัวอย่างเอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice) จัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน(Personal Information) ของฝ่ายHR

   9. ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและเอกสารอะไรบ้างในฝ่ายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้

   10. ใบสมัครงาน สัมภาษณ์งานและการจ้างงานมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

   11. จะกำหนดนโยบาย/ระเบียบปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานอย่างไร

   12. บทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับนายจ้าง และฝ่ายบุคคล ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติการกำหนดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล/การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร

  • นายจ้างมีสิทธิเรียก เก็บรักษา ใช้ ข้อมูลของพนักงานได้ทุกกรณีหรือไม่? ข้อมูลใดเรียกเก็บได้ข้อมูลใดเรียกเก็บไม่ได้?
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน กรณีใด/ประเภทใดบ้าง ต้องขอความยินยอม กรณีใด/ประเภทใดไม่ต้องขอความยินยอมตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • เทคนิควิธีการดำเนินการด้านขอความยินยอม จากลูกจ้างเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ในการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน
  • HR Privacy Policyคืออะไร?และกรณีศึกษา/ตัวอย่าง การร่างนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (HR Privacy Policy)สำหรับพนักงาน
  • บริษัทจะแจ้งHR Privacy Policyให้พนักงานทราบได้ด้วยวิธีใดได้บ้าง?
  • กรณีศึกษา/ตัวอย่าง การจัดทำหนังสือขอให้ลูกจ้างส่งข้อมูลส่วนบุคคล
  • กรณีศึกษา/ตัวอย่าง การปรับปรุงสัญญาจ้าง
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แบบฟอร์มเอกสารที่เกี่ยวข้องในฝ่ายบุคคล
13. ปัญหาชวนคิด (Quiz) ที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ

  • นายจ้างมีสิทธิขอดูหลักฐานการป่วยของพนักงานได้หรือไม่ ?
  • ใบสมัครที่ต้องให้ระบุข้อมูล เช่น ผู้อ้างอิง ผู้ค้ำประกัน ฯลฯ ต้องขอความยินยอมจากผู้ที่ถูก อ้างอิงหรือไม่?
  • ประวัติอาชญากรรม ประวัติสุขภาพของผู้สมัครงานหรือของลูกจ้าง เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?จะต้องจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไร?
  • การประเมินผลการทำงาน หรือความเห็นของผู้ประเมินต่อการทำงานของลูกจ้างเป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้หรือไม่ นายจ้างจะเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่สอบถามมาได้หรือไม่ลูกจ้างยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในสัญญาจ้าง ความยินยอมดังกล่าว ถือเป็นความยินยอมตามกฎหมายแล้วหรือไม่?
  • ลูกจ้างจะยกเลิกการให้ความยินยอม ทำได้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไร และต้องให้นายจ้างตกลงยอมให้ยกเลิกด้วยหรือไม่?
  • พนักงานสามารถปฏิเสธการให้ข้อมูล หรือขอลบข้อมูลบางส่วนได้หรือไม่?
  • การสแกนลายนิ้วมือพนักงาน เพื่อใช้บันทึกการมาทำงาน และควบคุมบุคคลเข้า-ออกสำนักงาน เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?จะต้องจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไร ?

14. ถาม-ตอบ อภิปรายแลกเปลี่ยนปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

วิทยากร
คุณสมบัติผู้เข้าฟัง/กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง
ภาษาในการบรรยาย
ไทย
ประกาศนียบัตร

สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อย่าลืมบอกผู้จัดงานว่าเห็นประกาศจากเวป "สัมมนาดีดี" นะคะ
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท:SeminarDD Academy
ชื่อผู้ประสานงาน:ผู้จัดงาน
เบอร์โทรศัพท์ :097-474-6644

หากท่านต้องการสมัคร พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 Thailand's Personal Data Protection Act (PDPA)
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้


ค่าฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ 200%
ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training

คำค้นประกาศนี้ Tags: พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562, Personal Data Protection Act (PDPA)

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร การวางแผนและควบคุมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Production Planning and C...

เพื่อสามารถจัดระเบียบการไหลของงานในระบบผลิต และติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา หรือเป็นการเตรียมและจัดการทรัพยากรและความต้องการตลอดจนทางเลือกต่างๆให้เกิดความพร้อมสำหรับการผลิต