หลักสูตร การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจภาคปฏิบัติ ( Business Continuity Management in Practices )
รหัสหลักสูตร: 66340

-
ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้
ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่
ทำไมองค์กรยุคใหม่จึงต้องบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้ได้ดี?
“เกิดโรคระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19)”
“น้ำท่วม 9 จังหวัดภาคกลางเป็นเวลากว่า 3 เดือน โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่งต้องหยุดดำเนินการนานกว่า 1 เดือน”
“สหรัฐอเมริกามีนโยบายลด QE เงินทุนไหนออกจากตลาดทุนไทย กดดัชนีตลาดหุ้นลดต่ำสุดในรอบปี และค่าเงินของไทยของไทยผันผวนอย่างหนัก”
“แผ่นดินไหวในทะเลอันดามันจนเกิดสึนามิ เศรษฐกิจและธุรกิจเสียหาย ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก”
“ไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ของไทยกว่า 15 ชั่วโมง”
“รถไฟฟ้า BTS ขัดข้อง หยุดดำเนินการตั้งแต่ 8 โมงเช้า เป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมง การจราจรโกลาหลทั้งกรุงเทพฯ BTS เสียหาย 5 ล้านบาท”
- ตัวอย่างเหตุการณ์เหล่านี้ ที่อาจเกิดในประเทศหรือต่างประเทศ ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน ความผันผวน ความเสี่ยงภัย และภัยคุกคามแบบต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงและกว้างขวางต่อธุรกิจทำให้การดำเนินธุรกิจต้องหยุดชะงัก (business disruption) โดยเฉพาะในระบบการผลิตที่เป็น global supply chain บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความพร้อมและเตรียมตัวรับมือเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องแม้เกิดเหตุการณ์ความผันผวนหรือวิกฤติ รวมทั้งยังต้องมีระบบในการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงและภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพด้วย
- อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงบางประการที่ไม่อาจป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เพราะอยู่นอกการควบคุมขององค์กร เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ภัยธรรมชาติ อุทกภัย อัคคีภัย โรคระบาด วินาศกรรม จราจล นโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจโลก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้กิจการต้องหยุดชะงัก สร้างความเสียหายแก่บริษัทได้ สิ่งนี้เป็นเหตุผลให้การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ได้รับความสนใจและมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการทำธุรกิจปัจจุบัน ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ และกิจการ SMEs
- BCM และ BCP จึงเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารความเสี่ยง เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ แม้อยู่ท่ามกลางสภาวะวิกฤต โดยไม่ทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก รวมถึงจำกัดวงให้มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถป้องกันความเสียหายความสูญเสียที่มีมูลค่าสูงมหาศาลได้ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าขององค์การสูงขึ้นเนื่องจากความมั่นใจของลูกค้าและผู้ถือหุ้น
- การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจะเกิดประโยชน์สูงสุดได้ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติทุกคนในองค์กร และทุกหน่วยงานในองค์การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องนี้ และสามารถนำความรู้ แนวคิด และหลักการไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล และสามารถจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีความเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ผู้เรียนจะได้อะไรจากหลักสูตรนี้?
1. ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
2. เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของบุคลากรในองค์กรที่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจตามหลักการบริหารที่เป็นมาตรฐานสากล
3. เข้าใจถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามและผลกระทบเมื่อเกิดการหยุดชะงักต่อองค์กร
4. เข้าใจแนวคิดและหลักการของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
5. ประยุกต์ใช้เทคนิคและแนวปฏิบัติในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจทั่วทั้งองค์กรกับงานของตนเองได้
สอนสดออนไลน์ผ่านทาง Zoom
หลักสูตรนี้เรียนอะไร?
Module 1 Understanding Business Continuity Management (BCM)
- BCM คืออะไร?
- แนวคิดเรื่อง Resilience
- BCM สำคัญและความจำเป็นอย่างไรต่อธุรกิจสมัยนี้?
- ประโยชน์ของ BCM
- ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ BCM
- ขอบเขตของ BCM
- องค์ประกอบของ BCM
- BCM Road Map
Module 2 BCM Process
- วัตถุประสงค์ของ BCM
- ขั้นตอนการจัดทำ BCM
- การระบุ critical/vital business function
- ปัจจัยเหตุแห่งความเสี่ยง
- ประเภทของความเสี่ยง
- การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง
- Business Impact Analysis (BIA)
- Incident Management Plan
- กรณีตัวอย่าง BCM ขององค์กรในประเทศไทย
Workshop
- critical/vital business function ขององค์กรท่านคืออะไร
- การประเมินความเสี่ยงขององค์กร
- ประเมินผลกระทบต่อธุรกิจจาก incident ที่หากเกิดขึ้น
- การกำหนดแผนจัดการ incident
แนวทางการเรียนรู้
วิทยากรใช้แนวทางผสมผสานในการอบรม (Integrated Training) โดยประกอบด้วย
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (collective learning) ช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จเป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม
3. การโค้ชแบบกลุ่ม (group coaching) ใช้ศาสตร์การโค้ชสมัยใหม่เพื่อดึงศักยภาพของผู้เรียนในเรื่องที่กำลังเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้มองเห็นจุดที่ตนเองอยากเปลี่ยนแปลง ใช้การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เรียน
4. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
- กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
- นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
- กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
5. เน้นการกระตุ้นการคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยใช้การสื่อสาร 2 ทาง เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นการคิด การประเมินตัวเองและองค์การ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
- กิจกรรมและ Workshop ที่นำไปสู่การคิดเพื่อวิเคราะห์ และนำเสนอสิ่งที่ดีกว่าเพื่อการพัฒนาหน้าที่การทำงานและผลผลิตองค์การ
- ผสมผสานกรณีศึกษา การระดมสมองและการนำเสนอผลงาน
- เน้นการทำงานเป็นทีม
1. บุคลากรของหน่วยงาน
2. พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงขององค์กรสัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท: | SeminarDD Academy |
ชื่อผู้ประสานงาน: | ผู้จัดงาน |
เบอร์โทรศัพท์ : | 097-474-6644 |

หากท่านต้องการสมัคร การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจภาคปฏิบัติ ( Business Continuity Management in Practices )
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้
เข้าฟังสัมมนาผ่านแพลตฟอร์ม Zoom
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training