หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือ บริหารจัดการงาน (Process Improvement)

รหัสหลักสูตร: 67557

จำนวนคนดู 315 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม
หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือ บริหารจัดการงาน  (Process Improvement)
รอบที่

-

ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้

ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่

หลักการและเหตุผล

การแก้ปัญหา และการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร เพราะการปฏิบัติงานประจำวันย่อมมีปัญหาเกิดปัญหาขึ้นจากการะบวนการทำงานซึ่งมีทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งคราว และปัญหาเรื้อรัง แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลได้อย่างไร? เราจำเป็นต้องมีวิธีการในการ สืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง(สาเหตุรากเหง้า) ขุดค้นหาปัญหาซ่อนเร้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ อันได้แก่ Q C D หลักสูตร Root Cause Analysis Technique (RCA) : เทคนิคการปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือบริหารจัดการงาน ผู้เข้ารับการอบรมจะได้แนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผลปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือบริหารจัดการงาน

งานทุกงานเป็นกระบวนการถ้ากระบวนการ (เหตุ) ดี ผลลัพธ์ หรือ ปัญหา (ผล) ย่อมดีเช่นกัน จะได้รู้จักเทคนิคต่างๆ เช่น QCC, Kaizen, Muda Muri Mura และเครื่องมือในการบริหารจัดการงาน เช่น Why Why Analysis, Fish Bold Analysis เป็นต้น ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการทดสอบสาเหตุของปัญหา เป็นการป้องกันและสกัดสิ่งบกพร่องไม่ให้หลุดไปยังกระบวนการถัดไป ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาเดิม


วัตถุประสงค์

1. เข้าใจถึงความสำคัญของเทคนิคการปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือบริหารจัดการงาน

2. มีความรู้และสามารถในการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (สาเหตุรากเหง้า) ได้อย่างเป็นระบบ

3. มีความรู้ในการใช้เครื่องและเทคนิคการปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือบริหารจัดการงาน

4. รู้จักคิดในเชิงเหตุ และผล การคิดในเชิงระบบ อันเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาในเชิงป้องกัน และการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หัวข้ออบรมสัมมนา
1. แนวคิดการจัดการกระบวนการและการคิดอย่างเป็นระบบ

2. ทำความเข้าใจในเรื่องของปัญหา และสาเหตุรากเหง้า

3. หลักการการปรับปรุงด้วยวิธีการ Kaizen

4. การค้นหาปัญหาจากกระบวนการไหลของกระบวนการผลิต (Process flow)

5. หลักการของ Muda Muri Mura

6. การดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงตามแนวทางของ QCC

7. การค้นหาสาเหตุเบื้องต้นด้วยวิธีการต่างๆ

8. การระดมสมอง

9. เครื่องมือการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis: RCA) ของปัญหา

  • Cause and Effect Analysis (CE analysis)
  • Why-Why Analysis

10. การรตัดสินใจบนพื้นฐานที่แท้จริง (Management by Fact)

11. การกำหนดมาตรการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำแบบถาวร (Permanent Corrective Action)

12. Workshop

วิทยากร
คุณสมบัติผู้เข้าฟัง/กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าแผนกทุกคนทุกระดับในองค์กร
ภาษาในการบรรยาย
ไทย
ประกาศนียบัตร

สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อย่าลืมบอกผู้จัดงานว่าเห็นประกาศจากเวป "สัมมนาดีดี" นะคะ
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท:SeminarDD Academy
ชื่อผู้ประสานงาน:ผู้จัดงาน
เบอร์โทรศัพท์ :094-489-6364

หากท่านต้องการสมัคร หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือ บริหารจัดการงาน (Process Improvement)
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้


ค่าฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ 200%
ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training

คำค้นประกาศนี้ Tags: การคิดอย่างเป็นระบบ, Kaizen, กระบวนการไหลของกระบวนการผลิต, Muda Muri Mura, แนวทางของ QCC

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

เจาะลึก การค้นหา/การคัดเลือก/การตรวจประเมิน/การทำข้อตกลงกับผู้ขายแบบครบถ้วน สำหร...

หัวข้อนี้ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ครบถ้วน สำหรับ งานจัดหา (Procurement) เพราะคลอบคลุม ทุกขั้นตอนตั้งแต่การค้นหา / การคัดเลือก / การตรวจประเมิน ทุกองค์กรต้องการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานจัดซื้อ แน่นอนหน่วยงานจัดซื้อนั้น มี 2 หน้าที่ ที่ต้องทำให้ได้

หลักสูตร งานจัดซื้อเพื่อระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ( Purchasing for logistic...

รูปแบบการทำธุรกิจทั้งหมดนี้ ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบ ที่เรียกว่า logistic & Supply Chainsการที่จะบริหารจัดการระบบ logistic & Supply Chains จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่หลากหลาย

หลักสูตร งานจัดซื้อเพื่อสนับสนุนการผลิต (Purchasing for Production)

ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจัดซื้อ จะใช้ความรู้ในการจัดซื้อเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางเทคนิค เข้ามาร่วมด้วย แต่ว่าความรู้เชิงเทคนิคนี้ กลับมีปัญหาเพราะอะไร !